Academic Conferences
Democratic Skill Development for Young Children
This research proposed the basic data for schools, parents, communities and the stakeholders to develop the democratic skills for young children by integrating into their daily activities. The research results will be used as the basic information for further research design as needed
Academic Articles
เรื่อง การสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กอนุบาลเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษา: สภาพและปัญหาของครู
เรียบเรียงโดย รศ.ดร.จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ และนางสาวจิตโสภิณ โสหา (ตุลาคม 2561) การพัฒนาเด็กปฐมวัยของประเทศไทยในปัจจุบัน เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการจัดการศึกษาปฐมวัยของผู้ปกครอง ครูและผู้บริหารสถานศึกษาทำให้เกิดปัญหาการเร่งเรียนอ่านเขียนเกินพัฒนาการเด็ก ผู้ปกครองขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการที่สำคัญตามช่วงวัยของเด็ก จึงมีความคาดหวังว่าเด็กอนุบาลต้องอ่านเขียนเป็นและบวกลบเลขได้ ส่งผลให้ส่งเสริมลูกแบบเร่งเรียนเขียนอ่านเพื่อเตรียมสอบเข้าโรงเรียนประถมศึกษา และการขาดความเข้าใจของครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก จึงมุ่งเน้นให้เด็กเรียนอ่านเขียนเกินวัย และเน้นการสอนให้เด็กท่องจำเนื้อหาสาระมากกว่าการฝึกทักษะ กระบวนการ ผู้บริหารสถานศึกษาขาดความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กในแต่ละช่วงวัย รวมถึงการวัดผลด้วยการทดสอบความรู้ด้านเนื้อหาสาระ และนำผลคะแนนมาใช้ในการจัดอันดับเพื่อประเมินเด็ก อีกทั้งยังมีการจัดสอบวัดความรู้ระดับชาติตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3จึงส่งผลให้โรงเรียนและผู้ปกครองเร่งให้เด็กอ่านออกเขียนได้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อเตรียมเด็กให้พร้อมสำหรับการทดสอบและการสอบแข่งขันต่างๆ ทำให้ระบบการเรียนการสอนเด็กในระดับอนุบาลและประถมศึกษาตอนต้น มุ่งเน้นการท่องจำความรู้เพื่อให้เด็กสามารถอ่านเขียนและคิดคำนวณได้ ซึ่งเป็นการส่งเสริมพัฒนาการที่เน้นเฉพาะด้านเนื้อหาสาระ โดยขาดการพัฒนาด้านทักษะ กระบวนการ ได้แก่ การคิดแก้ปัญหา การตัดสินใจ การให้เหตุผล การคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการไม่ให้เวลากับการพัฒนาด้านคุณธรรมและคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้และการดำเนินชีวิต ส่งผลให้เด็กขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ขาดทักษะในการทำงานร่วมกับคนอื่น และขาดทักษะความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เป็นการเสียโอกาสที่มีอยู่อย่างจำกัดในการสร้างทักษะด้านพฤติกรรม ซึ่งจะส่งผลต่อคุณลักษณะ ความสำเร็จด้านการศึกษาและการทำงานในอนาคตของเด็ก (สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน, 2558) การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยเป็นการจัดการศึกษาที่มีความสำคัญอันเป็นพื้นฐานของการศึกษาในระดับสูงต่อไป เนื่องจากเด็กในช่วงปฐมวัยนั้นมีการพัฒนาด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว จึงเป็นช่วงวัยที่ควรส่งเสริมพัฒนาการอย่างเต็มที่ การแบ่งช่วงอายุของเด็กปฐมวัยที่มีความแตกต่างกัน อาจทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องหรือมีช่องว่างในระหว่างที่เด็กได้รับประสบการณ์ในระดับอนุบาลและก้าวไปสู่ระดับชั้นประถมศึกษา งานวิจัยในต่างประเทศที่แสดงให้เห็นถึงปัญหา ความแตกต่างระหว่างการศึกษาปฐมวัยกับประถมศึกษา Einarsdottir (2003) ได้ทำการวิจัย พบว่า […]
เรื่อง รอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา : บทบาทของผู้ปกครอง
เรียบเรียงโดย รศ.ดร.จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ และนางสาวพัชรัตน์ ลออปักษา (ตุลาคม 2561) บทความฉบับนี้เป็นการเรียบเรียงข้อมูลในส่วนที่จะให้ข้อคิดเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติของผู้ปกครองในช่วงรอยเชื่อมต่อจากระดับชั้นอนุบาลไปสู่ระดับชั้นประถมศึกษา จากงานวิจัย เรื่อง บทบาทของผู้ปกครองในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา ของ พัชรัตน์ ลออปักษา (2561) ที่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่า รอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถมศึกษา หมายถึง ช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา ซึ่งมีการจัดการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันตามระบบการศึกษา ทำให้เด็กต้องปรับตัวกับการเรียน และสภาพแวดล้อมใหม่ รอยเชื่อมต่อทางการศึกษาในทุกช่วง เป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็ก เพราะเด็กจะต้องพบกับความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะจากบ้านไปสถานที่ต่างๆ หรือจากบ้านไปสู่สถานรับเลี้ยงเด็ก จากโรงเรียนอนุบาลไปสู่โรงเรียนประถมศึกษา พ่อแม่เป็นบุคคลกลุ่มแรกที่จะต้องเข้าใจและเตรียมพร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงด้วยการช่วยเหลือ ดูแลและประคับประคองให้เด็กผ่านช่วงเวลาสำคัญนี้ไปให้ได้ เด็กจะพบกับบุคคลที่ไม่รู้จัก สถานที่ที่ไม่คุ้นเคย ต้องไปอยู่ร่วมกับเด็กอื่นที่มาจากหลากหลายบริบท ซึ่งพ่อแม่หรือผู้ปกครองเองก็จะพบกับสิ่งใหม่เช่นเดียวกันกับเด็ก ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของพ่อแม่ผู้ปกครองและเด็กคงจะต้องสอดคล้องประสานกัน เพื่อช่วยนำความสุข และความสำเร็จไปสู่เด็ก แนวทางปฏิบัติของผู้ปกครองในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา พัชรัตน์ ลออปักษา (2561 : 42 – 67) ได้ศึกษาแนวทางปฏิบัติของผู้ปกครองจากเอกสารทางวิชาการต่างๆ นำเสนอไว้ในงานวิจัยดังนี้ Peters (2010) ได้สรุปแนวทางสำหรับผู้ปกครองในการสนับสนุนรอยเชื่อมต่อประกอบด้วย (1) การให้การศึกษาที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (2) […]
เรื่อง รอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากอนุบาลศึกษาถึงประถมศึกษา
เรียบเรียงโดย รองศาสตราจารย์ ดร.จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ และนางสาวกมลทิพย์ นิ้มคธาวุธ (กันยายน, 2561) รอยเชื่อมต่อทางการศึกษา เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผ่านจากระดับชั้นเรียนหนึ่งไปยังระดับชั้นเรียนอีกระดับหนึ่ง ที่มีธรรมชาติและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลโดยตรงกับเด็กในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ใหม่ และอาจทำให้เด็กเกิดความกังวลใจ (กมลทิพย์ นิ้มคธาวุธ, 2561 สรุปความหมายจาก Dunlop and Fabian (2002), Department of Education and Early Childhood Development (2009), สุจิตรพร สีฝั้น (2550) และยศวีร์ สายฟ้า (2557)) การเปลี่ยนแปลงจากระดับชั้นอนุบาลและระดับชั้นประถมศึกษาเป็นช่วงเวลาที่สำคัญกับชีวิตของเด็ก เนื่องจากเป็นการเริ่มต้นการศึกษาภาคบังคับ เด็กที่กำลังเข้าสู่โรงเรียน (อายุระหว่าง 5-7 ปี) ยังปรับตัวได้ไม่ดีนัก และต้องเผชิญกับรูปแบบและลักษณะการเรียนรู้ที่เป็นทางการมากขึ้น เด็กที่เพิ่งเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กในระยะยาว การมีรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของช่วงที่สำคัญดังกล่าวนี้จะส่งผลให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการทำงานในอนาคต (กมลทิพย์ นิ้มคธาวุธ, 2561) แนวทางในการเชื่อมต่อการศึกษาระหว่างชั้นอนุบาลศึกษาและประถมศึกษา ข้อมูลจากงานวิจัยของ กมลทิพย์ นิ้มคธาวุธ เรื่อง […]
เรื่อง แนวทางการจัดชั้นเรียนเพื่อเด็กปฐมวัย
แนวทางการจัดการชั้นเรียนเพื่อเด็กปฐมวัย : มุมมองสำหรับนำไปปฏิบัติ รศ.ดร.จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ (พ.ศ. 2548) การทำงานกับเด็กปฐมวัยได้ประสบความสำเร็จ ครูจะต้องมีความสามารถในการจัดห้องเรียนและการจัดการชั้นเรียนสำหรับเด็กเพราะการจัดการชั้นเรียนมีผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมของเด็กที่จะแสดงออกมาเมื่ออยู่หรือทำงานร่วมกับเพื่อน สิ่งที่ครูพบว่า เป็นปัญหาที่หนักใจและสร้างความคับข้องใจให้มากเรื่องหนึ่ง คือ ทำอย่างไรจะสามารถจัดการชั้นเรียนของตนเองได้ ทำอย่างไรจะทำให้เด็กรู้จักควบคุมตนเอง รู้ว่าเมื่อไรจะต้องทำอะไร รู้จักกาลเทศะ เคารพกติกาข้อตกลง ร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งในส่วนที่เด็กคิด เด็กและครูร่วมกันคิด หรือบุคคลอื่นๆ คิดเสนอขึ้นมา นั่นคือทำอย่างไรเด็กจึงจะมีวินัย โดยเฉพาะวินัยในตนเอง ควบคุมตนเองได้ ถ้าเด็กในห้องเรียนที่ครูรับผิดชอบอยู่ ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่เหมาะสม มีวินัย ครูทุกคนก็คงจะมีความสุข การจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนก็คงจะดำเนินไปได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องพะวงกับการต้องคอยตักเตือนสลับกับกิจกรรมตลอดเวลาซึ่งจะเป็นการขัดจังหวะการทำกิจกรรม ขาดความต่อเนื่องในกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่และดูจะสร้างความรำคาญให้เด็กในชั้นเรียนรวมทั้งครูเองด้วย Kauchak และ Eggen (1998) ได้พูดถึงความคับข้องใจในการจัดการชั้นเรียนจะเกิดขึ้นกับนิสิตนักศึกษาฝึกสอน ครูที่ทำงานเป็นปีแรกและบางครั้งบางคราวก็เกิดได้กับครูที่มีประสบการณ์สอนมานานได้เช่นเดียวกันสิ่งที่สร้างความกังวลให้แก่คนกลุ่มนี้มากที่สุด คือ ไม่แน่ใจในความสามารถของตนเองในการจัดการกับนักเรียน การระวังไม่ให้เกิดการรบกวนกันและการดูแลให้สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้เป็นไปอย่างราบรื่น การจัดการชั้นเรียนถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ได้รับความเอาใจใส่จากทั้งบุคลากรระดับนโยบายของโรงเรียนและทุกคนที่เกี่ยวข้อง โดยถือว่าเป็นปัญหาอันดับแรกของโรงเรียน (Elam and Rose,1995 อ้างถึงใน Kauchak and Eggen, 1998) การไม่มีระเบียบและพฤติกรรมรบกวนของนักเรียนเป็นสาเหตุสำคัญที่สร้างความเครียดให้แก่ครูและเป็นต้นเหตุทำให้ครูลาออก […]
เรื่อง การจัดประสบการณ์แบบศูนย์การเรียน
การจัดประสบการณ์แบบศูนย์การเรียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวรรณ เหมชะญาติ บทที่ 1 การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย การเรียนรู้เชิงบูรณาการผ่านการเล่น ศูนย์การเรียนเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการอย่างเป็นธรรมชาติ เนื่องจากเด็กเรียนรู้เกี่ยวกับมโนทัศน์ต่างๆ ผ่านการเล่นที่หลากหลายอย่างกลมกลืนกับชีวิต การเล่นเป็นงานของเด็กและเด็กต้องการที่จะเล่น ในการเล่น เด็กได้พัฒนาทักษะการปัญหาโดยการลองทำ สิ่งต่างๆ ในวิธีการที่หลากหลาย พร้อมทั้งเฝ้าคอยค้นหาวิธีการที่ดีที่สุด ในการเล่น เด็กได้ใช้ภาษาสื่อสารการทำกิจกรรมของตน มีการขยายวงคำศัพท์และปรับเปลี่ยนแก้ไขการใช้ภาษาของตนขณะพูดอย่างอัตโนมัติ เช่นเดียวกับการเรียนรู้ที่จะฟังผู้อื่นพูด ขณะที่เล่น เด็กค่อยๆ เรียนรู้ถึงความแตกต่างของผู้คน บทบาท และทักษะในการดำเนินชีวิต ทั้งนี้ก็เพื่อให้เล่นด้วยกันได้อย่างมีความสุขและสนุกสนาน การเล่นจึงเปรียบ เสมือนอาหารหลักในการบำรุงพัฒนาการเด็กอย่างถ้วนทั่ว ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ดังนั้น การเล่นจึงเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นในการจัดโปรแกรมการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ การจัดประสบการณ์แบบศูนย์การเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการเล่นในลักษณะที่บูรณาการองค์ความรู้ต่างๆ อย่างเป็นธรรมชาติ นั่นคือ เด็กได้พูดคุย ซักถาม หยอกล้อ และช่วยเหลือกันขณะทำกิจกรรมร้อยดอกรักบูชาพระ (ภาษา) […]
เรื่อง ประสบการณ์เทคโนโลยีสำหรับเด็กอนุบาล
ประสบการณ์เทคโนโลยีสำหรับเด็กอนุบาล รองศาสตราจารย์ ดร.น้อมศรี เคท ความสำคัญของการจัดประสบการณ์เทคโนโลยี เทคโนโลยีในหลักสูตรจุฬาลักษณ์เป็นสาระที่สำคัญสำหรับครูในการนำไปจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กเป็นผู้ใฝ่รู้และรักการสืบสอบ ซึ่งหมายถึงเป็นผู้ที่มีลักษณะอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบซักถาม และอยากทดลองทำสิ่งต่างๆ ถ้าเด็กได้รับการส่งเสริมให้เป็นผู้ที่ใฝ่รู้และรักการสืบสอบ จะทำให้เมื่อเด็กเติบโตเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์และอาจคิดประดิษฐ์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม การจัดประสบการณ์เทคโนโลยีให้แก่เด็กควรจัดควบคู่กันไปกับประสบการณ์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันและมีธรรมชาติที่คล้ายกัน การเรียนรู้หรือการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีต้องอาศัยคณิตศาสตร์ และใช้วิธีการสืบสอบ แต่เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ต่างกันคือ วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เทคโนโลยีคือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น อาจเป็นสิ่งของหรือวิธีการก็ได้ เพื่อทำให้มนุษย์สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น ช่วยในการแก้ปัญหา ทำให้การดำรงชีวิตมีความสะดวกสบาย และมีคุณภาพดีขึ้น เทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์มีความสามารถมากขึ้น ในการควบคุมสิ่งแวดล้อมทั้งในส่วนที่เป็นธรรมชาติและส่วนที่มนุษย์สร้างขึ้น ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ต้องอาศัยเทคโนโลยี และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา ทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ใช่เป็นเรื่องนามธรรมที่ยากเกินกว่าที่เด็กจะเรียนรู้ได้ ครูควรจัดประสบการณ์ให้เด็กสามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ โดยเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน และทำให้เด็กเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีผลต่อชีวิตมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ หลักในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี […]
เรื่อง สุขภาพ ความปลอดภัย และทักษะกลไก
สุขภาพ ความปลอดภัย และทักษะกลไก สำหรับเด็กอนุบาล รองศาสตราจารย์ ดร.จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ การที่เด็กจะเจริญเติบโตไปอย่างมีสุขภาพที่แข็งแรงและสมบูรณ์ รู้คุณค่าของความสะอาด อาหาร การพักผ่อนและการดูแลตนเองให้อยู่รอดปลอดภัยได้ในชีวิตประจำวัน จำเป็นต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในเรื่องของสุขภาพและความปลอดภัย สุขภาพและความปลอดภัย เป็นศาสตร์ที่จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ และสร้างลักษณะนิสัยที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพแห่งตน เริ่มตั้งแต่เด็กเข้ามาในโรงเรียน เด็กควรจะได้รับการพัฒนาแนวคิดพื้นฐาน ทัศนคติและทักษะเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัย โดยบูรณาการไปในกิจวัตรประจำวัน ที่เด็กต้องปฏิบัติในโรงเรียน ทั้งในเรื่องการเรียนการสอนและการดูแลที่ได้รับ เป้าหมายสำคัญส่วนหนึ่งของการศึกษาปฐมวัย คือ การให้เด็กได้มี “กายดี จิตดี อยู่ดี มีสุข” ดังนั้นการให้เด็กได้มีรากฐานการปฏิบัติที่ถูกต้องในเรื่องของสุขภาพและความปลอดภัย จึงจำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่ระดับปฐมวัย โดยให้เด็กได้เรียนรู้ทั้งสาระความรู้และมีทักษะในการปฏิบัติ โดยมีทัศนคติที่ดี และแนวคิดที่ถูกต้องต่อการปฏิบัติให้เป็นนิสัย รู้จักคิด รู้จักเลือก รู้จักตัดสินใจ แก้ปัญหาได้เหมาะสมตามวัย […]
เรื่อง คุณธรรมและเจตคติสำหรับเด็กอนุบาล
คุณธรรมและเจตคติสำหรับเด็กอนุบาล รองศาสตราจารย์พูนสุข บุณย์สวัสดิ์ คุณธรรมเป็นพื้นฐานทางจิตใจและเจตคติ อันนำไปสู่การกระทำที่ดีและถูกต้อง คุณธรรมและเจตคติจะเป็นปัจจัยให้เด็กพร้อมที่จะเผชิญโลกได้อย่างมั่นคงและมีความสุข การปลูกฝังคุณธรรมและเจตคติให้แก่เด็กตั้งแต่วัยเยาว์จะช่วยให้เด็กพัฒนาคุณธรรมและเจตคติขึ้นในตัวเองอย่างได้ผล ครูจึงต้องแสวงหากลยุทธ์ที่เหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็ก เพื่อปลูกฝังให้เด็กมีลักษณะนิสัย จริยธรรม คุณธรรม และเจตคติ ให้เกิดขึ้นในเด็กอย่างมีประสิทธิภาพที่ดีและเหมาะสม สิ่งที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นแนวทางหนึ่งที่เป็นตัวอย่างได้ดีสำหรับการพัฒนาคุณธรรมและเจตคติให้แก่เด็กอนุบาล เป้าหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป้าหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรจุฬาลักษณ์ มีดังนี้ เป้าหมายที่ 1 ปฏิบัติตนเป็นคนดี มาตรฐานที่ 1 ยึดมั่นในคุณธรรม […]
เรื่อง บริหารเวลาด้วยการขจัดปัญหาที่่ทำให้เสียเวลา
บริหารเวลาด้วยการขจัดปัญหาที่ทำให้เสียเวลา รศ.ดร.จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ (พ.ศ. 2542) ในการทำงานของแต่ละบุคคลย่อมหนีไม่พ้นที่จะผจญกับปัญหา ทั้งปัญหาที่แก้ไขให้ลุล่วง ไปด้วยดี ปัญหาที่แก้ไขได้เป็นครั้งคราว ปัญหาที่สร้างความหงุดหงิดรำคาญใจตลอดเวลา แก้ไม่ได้ แต่จะดีจะร้ายแล้วแต่อารมณ์ของคนแวดล้อม แต่ถึงอย่างไรเมื่อมีปัญหาอะไรก็ตามเกิดขึ้นมา แล้วเข้ามารุกล้ำทำให้เราไม่สามารถทำงานในความรับผิดชอบให้สำเร็จไปได้ด้วยดี แถมทำให้เวลาที่เรามีไม่มากนักเสียไปอีก เราก็คงจะต้องหาทางที่จะแก้ปัญหานั้นๆ ให้ได้ หรือทุเลาเบาบางลงไป ไม่ว่าจะด้วยความคิดของเราเองหรือรวมกลุ่มกันในการคิดแก้ปัญหา ปัญหาต่างๆ ต่อไปนี้จำนวน 9 ปัญหา เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในหน่วยงานต่างๆ แล้วแต่ว่าหน่วยงานไหนจะพบกับปัญหาอะไร และได้นำปัญหาเหล่านี้มาให้ลองวิเคราะห์และหาวิธีการในการแก้ปัญหา โดยผู้บังคับบัญชาระดับผู้จัดการแผนกหรือเทียบเท่าที่เข้ารับการอบรมเรื่องการบริหารเวลาในการทำงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จนถึงปี พ.ศ. 2542 จำนน 11 รุ่นๆ ละ 50 คน รวมทั้งสิ้น 550 คน โดยในแต่ละรุ่นได้แบ่งกลุ่มมีสมาชิก กลุ่มละ […]
เรื่อง การบริหารเวลา
การบริหารเวลา รศ.ดร.จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ (พ.ศ. 2542) “เวลา คือ ชีวิต ถ้าเราใช้เวลาเป็น เราก็จะเป็นเจ้าชีวิตของเราเอง” ทุกคนคงยอมรับในคำกล่าวนี้ เนื่องจากเวลาผ่านเลยเราไปทุกวันไม่หวนกลับ สิ่งที่ไปพร้อมกับเวลา คือ ชีวิต เราจึงต้องศึกษาวิธีการในการควบคุมเวลาของเรา การทำงานของคนเรามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักวิธีการในการจัดการกับเวลาของเราที่มีอยู่เท่ากันทุกคน คือวันละ 24 ชั่วโมง เราจะจัดเวลาที่เรามีอย่างไรจึงจะทำให้มีเวลาทำงานในความรับผิดชอบได้เต็มเวลาในช่วงเวลาทำงาน และทำอย่างไรเมื่อพ้นจากเวลาทำงานแล้วไม่ต้องหอบหิ้วงานกลับมาทำที่บ้านอีก แต่ว่ามีเวลาหาความสุข สำราญทำในสิ่งที่เราต้องการทำเพื่อตัวเราเองบ้าง คงจะไม่ลำบากหรือยุ่งยากอะไร ถ้าเราคิดและตั้งใจจะจัดระบบเวลาให้แก่ตัวเองเพียงแต่ศึกษาเกี่ยวกับหลักการบริหารเวลา แล้วใช้ความพยายามในการปรับตัวเองบ่อยๆ ทำตามไปทีละเรื่องให้ได้ ในที่สุดเราก็จะประสบความสำเร็จในการบริหารเวลา เมื่อตนเองทำได้สำเร็จจะได้ค่อยๆ ขยับเข้าไปปรับคนที่อยู่รอบตัวไม่ว่าจะในที่ทำงานและที่บ้าน […]
Enhance knowledge

สมัครสมาชิก ร่วมเครือข่ายการพัฒนางานวิชาการและการวิจัย เพื่อเด็กปฐมวัยไปด้วยกัน
Member Applications of PECERA (Thailand)
ผู้ประสานงาน (Co-ordinator)
ดร.พรชุลี ลังกา Dr.Phornchulee Lungka Tel: (+66) 244 5520 E-mail: poundy40@hotmail.com |
นางสาวธาชินี ศิวะศิลป์ชัย Thachinee Siwasilchai Tel: (+66) 244 5524 E-mail: faye_tn12@hotmail.com |