เรื่อง การบริหารเวลา

การบริหารเวลา รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2542)               “เวลา คือ ชีวิต ถ้าเราใช้เวลาเป็น เราก็จะเป็นเจ้าชีวิตของเราเอง” ทุกคนคงยอมรับในคำกล่าวนี้ เนื่องจากเวลาผ่านเลยเราไปทุกวันไม่หวนกลับ สิ่งที่ไปพร้อมกับเวลา คือ ชีวิต เราจึงต้องศึกษาวิธีการในการควบคุมเวลาของเรา               การทำงานของคนเรามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักวิธีการในการจัดการกับเวลาของเราที่มีอยู่เท่ากันทุกคน คือวันละ 24 ชั่วโมง เราจะจัดเวลาที่เรามีอย่างไรจึงจะทำให้มีเวลาทำงานในความรับผิดชอบได้เต็มเวลาในช่วงเวลาทำงาน และทำอย่างไรเมื่อพ้นจากเวลาทำงานแล้วไม่ต้องหอบหิ้วงานกลับมาทำที่บ้านอีก แต่ว่ามีเวลาหาความสุข สำราญทำในสิ่งที่เราต้องการทำเพื่อตัวเราเองบ้าง               คงจะไม่ลำบากหรือยุ่งยากอะไร ถ้าเราคิดและตั้งใจจะจัดระบบเวลาให้แก่ตัวเองเพียงแต่ศึกษาเกี่ยวกับหลักการบริหารเวลา แล้วใช้ความพยายามในการปรับตัวเองบ่อยๆ ทำตามไปทีละเรื่องให้ได้ ในที่สุดเราก็จะประสบความสำเร็จในการบริหารเวลา เมื่อตนเองทำได้สำเร็จจะได้ค่อยๆ ขยับเข้าไปปรับคนที่อยู่รอบตัวไม่ว่าจะในที่ทำงานและที่บ้าน             […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง ใช้เวลา ใช้ชีวิตให้คุ้มค่าในมหาวิทยาลัย

ใช้เวลา ใช้ชีวิตให้คุ้มค่าในมหาวิทยาลัย รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2542) ขอต้อนรับน้องใหม่ทุกคนสู่รั้วจามจุรี               การก้าวเข้ามาสู่ระดับอุดมศึกษาเป็นการเรียนในมหาวิทยาลัย จะต่างจากการเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียน เมื่อเราอยู่ในโรงเรียนเรามีอาจารย์ประจำชั้นคอยดูแลให้คำแนะนำในการเรียน ดูแลความประพฤติ ใกล้ชิดให้ความเอาใจใส่แก่เราทุกเรื่อง เราต้องทำตามกรอบของโรงเรียนที่กำหนด มีอาจารย์ที่จะดูแลทุกข์สุขเอาใจใส่เยอะ และเราเองก็มีความรู้สึกอบอุ่นดีในบรรยากาศเช่นนั้น               ในมหาวิทยาลัย จะมีอาจารย์ที่ปรึกษา ดูแลการเลือกวิชาเรียน ให้คำแนะนำในการปฏิบัติทั่วๆ ไป มีการปฐมนิเทศนิสิตใหม่ให้เข้าใจในเรื่องต่างๆ ของภาควิชา คณะ และมหาวิทยาลัยในวงกว้างๆ ทั้งการเรียน การแต่งกาย การปฏิบัติตน และกิจกรรมต่างๆ ที่นิสิตควรรับทราบในฐานะ ผู้มาใหม่ การเข้าเรียน การแบ่งเวลาในการเรียน การเข้าร่วมกิจกรรม การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม การใช้เวลาว่างเป็นเรื่องที่เราต้องตัดสินใจเองทั้งหมด เวลาทั้งหมดเป็นของเรา เราต้องตัดสินใจให้ดี ในเรื่องของการใช้เวลา ถ้าเราจัดสรรเวลาไม่ได้ ไม่เป็น เราก็จะทำอะไรไม่ทัน ในที่สุดก็จะทำอะไรไม่สำเร็จ ถ้าเราจัดการกับเวลาได้ […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง การบริหารเวลา…ฉบับย่อ

การบริหารเวลา…ฉบับย่อ รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2539)               เมื่อมีความตั้งใจในการที่จะฝึกฝนตนเองในเรื่องการบริหารเวลา เพื่อทำงานให้ดี มีประสิทธิภาพ แต่มีเวลาน้อย จะทำอย่างไร การบริหารเวลา…ฉบับย่อ ช่วยให้แนวทางได้ บริหารเวลาด้วยวิธีการ ตั้งเป้าหมาย               กำหนดเป้าหมายของชีวิตและกำหนดเป้าหมายของการทำงาน รู้ความต้องการของตัวเองว่าชีวิตนี้ต้องการอะไร กำหนดกิจกรรม ขั้นตอนและเวลาเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น               เป้าหมายของการทำงานจะต้องมี เพื่อจะได้รู้ว่า แต่ละปี แต่ละเดือน แต่ละสัปดาห์ แต่ละวัน ทำงานไปเพื่ออะไร               การมีเป้าหมาย จะทำให้เดินไปถูกทิศถูกทาง แล้วก็ใช้เวลาเดินทางสั้นกว่าการเดินไปอย่างไร้จุดหมาย วางแผน     […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง การศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอนฯ

การศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอน ตามแนวคิดวอลดอร์ฟ ในสหพันธรัฐเยอรมัน  รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2556)               สถานที่ไปศึกษาดูงานตามแนวคิดของวอลดอร์ฟ คือ โรงเรียนวอลดอร์ฟที่เมือง Hildesheim ซึ่งตั้งอยู่ตอนเหนือของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีชั้นเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลศึกษาถึงชั้นปี่ที่ 13 โดยแยกสถานที่ตั้งของโรงเรียนเป็น 2 แห่ ง คือ               1.   Waldorf Kindergarten รับเด็กอายุโดยประมาณ 2 – 6 ขวบ เข้าเรียนและมีเด็กวัยต่ำกว่า 2 ขวบ เข้ามาเป็นบางวันพร้อมผู้ปกครอง               2.   Freie Waldorfschule Hildesheim รับเด็กต่อมาจากระดับอนุบาลศึกษาและรับนักเรียนเข้าเรียนใหม่ มีการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นปีที่ […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์ : รวมพลังรังสรรค์ให้แก่เด็ก รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2549) คำนำ               จุดมุ่งหมายหลักของการศึกษา คือ การสร้างคนที่สามารถทำอะไรที่เป็นสิ่งใหม่ได้ ไม่เพียงแต่ทำอะไรซ้ำๆ กับที่คนอื่นได้ทำต่อๆ กันมา เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นนักประดิษฐ์คิดค้น จุดมุ่งหมายที่สองของการศึกษา คือ การสร้างจิตที่สามารถคิดวิจารณญาณ สามารถตรวจสอบสิ่งต่างๆ และไม่ยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่คนอื่นนำมายื่นให้  (Piaget อ้างถึงใน Fisher, 1992 : 29)               การศึกษาเรื่องความคิดสร้างสรรค์ จะมีเรื่องชวนคิดชวนสงสัยหลายอย่างเกิดขึ้น และก็มีแนวคิดของนักการศึกษา นักจิตวิทยา ที่มองในเรื่องนี้เหมือนและต่างกันไปว่า ความคิดสร้างสรรค์  มาจากไหน อะไรคือความคิดสร้างสรรค์ อะไรคือไม่ใช่ อะไรคือความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ ความเหมือน ความแตกต่าง หรือเหมือนกันหรือไม่ในระหว่างความคิดสร้างสรรค์กับความสามารถพิเศษ (talented) กับพรสวรรค์ (gifted) […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง การจัดการศึกษาและการจัดการเรียนฯ

การจัดการศึกษา และการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาในสหรัฐอเมริกา รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2540)               สหรัฐอเมริกา ไม่มีระบบการศึกษาของชาติ การศึกษาของประชาชนดำเนินการอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐและท้องถิ่น บทบาทของรัฐบาลกลาง (The Federal Role)               สำหรับรัฐบาลกลางจะให้การสนับสนุนและเข้าไปกระตุ้นได้เฉพาะที่กำหนดเอาไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น การบริหารของรัฐบาลกลาง ทั้งทางด้านตุลาการ นิติบัญญัติ และบริหารมีผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อการจัดการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ดังนี้               1.   ข้อกำหนดถึงอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลกลางตามรัฐธรรมนูญ                      รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ไม่มีการกล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลกลางทางด้านการศึกษา แต่มีบางมาตราตีความได้ในส่วนที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับโรงเรียน เช่น […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง ความเป็นมาของการประถมศึกษา

ความเป็นมาของการประถมศึกษาในสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1647 – ค.ศ. 1957)  รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2540)               โรงเรียนประถมศึกษาในสหรัฐอเมริกา จัดตั้งขึ้นมาเพื่อสนองกับความต้องการของสังคม ที่ขยายตัวและเป็นสังคมที่มีความแตกต่างกัน การสนองตอบของโรงเรียนเป็นผลมาจากการเน้นในจุดมุ่งหมายของการศึกษา ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป คือ               1.   เพื่อคงไว้ซึ่งสภาพสังคมในปัจจุบัน และความต้องการในปัจจุบันนั้น               2.   เปลี่ยนแปลงสภาพสังคมที่เป็นอยู่ โครงสร้าง กฎระเบียบ และปรับไปตามทิศทาง ที่ได้กำหนดเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว               3.   เพื่อเตรียมคนแต่ละคน ที่จะต้องเข้าไปกำหนดและทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง แนวคิดและแนวทางปฏิบัติในการสอน

แนวคิดและแนวปฏิบัติในการสอนแบบมอนเตสซอรี่สำหรับเด็กปฐมวัย รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2557)                การให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพของแต่ละคนเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาเด็กต่อไปในอนาคต ความสนใจ ความต้องการตามธรรมชาติของเด็กควรได้รับความเอาใจใส่จากผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการดูแลเด็กปฐมวัย การส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้พัฒนาทุกด้านอย่างเต็มศักยภาพของตน เป็นความพยายามของแนวคิดหลายๆ แนวคิดทางการศึกษาปฐมวัย ด้วยมุ่งหวังให้เด็กได้เจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งกายและจิต มีความสุข สนุกสนาน และได้เรียนในสิ่งที่ต้องการเรียนได้ทำกิจกรรมในสิ่งที่ต้องการศึกษาค้นคว้าทั้งด้วยตนเองพียงลำพังและการทำงานร่วมกับเพื่อนๆ การจัดโปรแกรมการศึกษาปฐมวัยที่จะประสบความสำเร็จได้ดีและทำเพื่อเด็ก ควรจะเป็นโปรแกรมที่มองเห็นเด็กเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด               แนวคิดของมอนเตสซอรี่ในการจัดการเรียนการสอน เป็นแนวคิดหนึ่งที่ให้ความสำคัญแก่เด็ก โดยได้มีการพัฒนาหลักสูตรขึ้นมาบนพื้นฐานปรัชญาและหลักการของการที่ผู้ใหญ่ต้องให้การยอมรับนับถือเด็กในสภาพความเป็นจริงของเด็ก จัดการศึกษาให้แก่เด็กอย่างที่เด็กต้องการเรียนรู้ไม่ใช่ตามที่ผู้ใหญ่ต้องการ จากจิตที่ซึมซาบได้ของเด็ก ได้นำมาใช้ในการสาธิตการสอนให้แก่เด็ก เด็กได้มีโอกาสศึกษาด้วยตนเองอย่างอิสระจากสิ่งแวดล้อมที่จัดไว้ให้อย่างมีจุดมุ่งหมาย วัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างมีขนาดของเด็กและเป็นสิ่งที่เด็กต้องการศึกษา เมื่อเด็กทำงาน เด็กจะสงบ มีสมาธิ มีความรับผิดชอบในการที่จะทำงานให้สำเร็จ ในระหว่างการทำงานเด็กสามารถแก้ปัญหาและแก้ไขข้อบกพร่องในการทำงานของตนได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีใครมาชี้นำ               ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ (ค.ศ. […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองฯ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : อีกหนึ่งแนวคิดของการดูแลและการจัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัย  รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2550)               การประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ทำให้เกิดการตื่นตัวในการปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษาระดับต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาดูแลรับผิดชอบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัยขึ้นไป โดยที่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานศึกษาประเภทหนึ่งที่ให้การดูแลและจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย ในช่วงอายุ 3 – 5 ปี ซึ่งแต่ละแห่งอาจจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของอายุเด็กที่มีความแตกต่างกันไปตั้งแต่  2 – 7 ปี               ผลของการวิจัยและข้อมูลใหม่ๆ ที่ได้นำมาเผยแพร่ในปัจจุบันทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโดยเฉพาะการจัดการศึกษาปฐมวัย ต้องกลับมาพิจารณาถึงการนำเสนอรูปแบบการจัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับพัฒนาการด้านต่างๆ และมุ่งให้เด็กได้เจริญเติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ ทางกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้สนับสนุนให้ผู้ที่ทำงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้พัฒนาตนเองให้เกิดความเข้าใจในการทำงานกับเด็ก โดยจัดการอบรมผู้ดูแลเด็กด้วยหลักสูตร 7 วัน ที่เป็นหลักสูตรระยะสั้นและเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยได้ความรู้ทั้งในส่วนของการดูแลและการจัดการศึกษาให้แก่เด็กได้อย่างเหมาะสม และรัฐบาลเองได้มีนโยบายสนับสนุนด้วยงบประมาณในการพัฒนาคนและพัฒนาศูนย์ต่างๆ ได้จัดให้มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบในแต่ละจังหวัด เพื่อให้เป็นตัวอย่างและเป็นส่วนกระตุ้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงานกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศคิดปรับพัฒนางานที่รับผิดชอบโดยเห็นแนวทางในการปฏิบัติได้จริงจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบเหล่านั้น     […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง แนวคิดการสอนแบบมอนเตสซอรี่

แนวคิดการสอนแบบมอนเตสซอรี่ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2549) บทนำ               การให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพของแต่ละคนเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาเด็กต่อไปในอนาคต ความสนใจ ความต้องการตามธรรมชาติของเด็กควรได้รับความเอาใจใส่จากผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการดูแลเด็กปฐมวัย การส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้พัฒนาทุกด้านอย่างเต็มศักยภาพของตน เป็นความพยายามของแนวคิดหลายๆ แนวคิดทางการศึกษาปฐมวัยด้วยมุ่งหวังให้เด็กได้เจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งทางกายและจิต มีความสุข สนุกสนาน และได้เรียนในสิ่งที่ต้องการเรียน ได้ทำกิจกรรมในสิ่งที่ต้องการศึกษาค้นคว้าทั้งด้วยตนเองเพียงลำพังและการทำงานร่วมกับเพื่อนๆ การจัดโปรแกรมการศึกษาปฐมวัยที่จะประสบความสำเร็จได้ดีและทำเพื่อเด็กควรจะเป็นโปรแกรมที่มองเห็นเด็กเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด               แนวคิดของมอนเตสซอรี่ในการจัดการเรียนการสอน เป็นแนวคิดหนึ่งที่ให้ความสำคัญแก่เด็ก  โดยได้มีการพัฒนาหลักสูตรขึ้นมาบนพื้นฐานปรัชญาและหลักการของการที่ผู้ใหญ่ต้องให้ การยอมรับนับถือเด็กในสภาพความเป็นจริงของเด็ก จัดการศึกษาให้เด็กอย่างที่เด็กต้องการเรียนรู้ไม่ใช่ตามที่ผู้ใหญ่ต้องกาs จากจิตที่ซึมซาบได้ของเด็ก ได้นำมาใช้ในการสาธิตการสอนให้แก่เด็ก เด็กได้มีโอกาสศึกษาด้วยตนเองอย่างอิสระจากสิ่งแวดล้อมที่จัดไว้ให้อย่างมีจุดมุ่งหมาย วัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างมีขนาดเหมาะกับวัยของเด็กและเป็นสิ่งที่เด็กต้องการศึกษา เมื่อเด็กทำงาน เด็กจะสงบ มีสมาธิ มีความรับผิดชอบในการที่จะทำงานให้สำเร็จ ในระหว่างการทำงานเด็กสามารถคิดแก้ปัญหาและแก้ไขข้อบกพร่องในการทำงานของตนได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีใครมาชี้นำ               ดร.มาเรีย  มอนเตสซอรี่ […]

webadmin

January 25, 2561
1 2 3