เรื่อง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ  รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2547) บทนำ               ข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางด้านสมองและการเลี้ยงดูเด็ก รวมถึงโปรแกรมการจัดการศึกษาแก่เด็กปฐมวัย ได้ระบุชัดเจนว่า ประสบการณ์ที่มีคุณภาพในช่วงแรกของชีวิตมีผลต่อพัฒนาการเด็กและมีผลในด้านความพร้อมของเด็กที่จะเรียนต่อไป ดังนั้นการดูแลและจัดการศึกษาให้แก่เด็กในช่วงแรก การให้การส่งเสริมทางอารมณ์และประสบการณ์ที่เด็กได้รับเป็นสิ่งสำคัญในการที่เด็กจะพัฒนาต่อไปได้อย่างประสบผลสำเร็จ               หลักฐานทางการวิจัยเกี่ยวกับการดูแล ให้การศึกษาและพัฒนาการของเด็กมีความชัดเจนมากกว่า คุณภาพ มีความเชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็ก การดูแลที่มีคุณภาพสูงจะมีผลออกมาที่เด็ก ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องการที่จะเห็นว่าเด็กที่เป็นบุตรหลานของตน มีความเป็นมิตรกับคนรอบข้างให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มและร่วมมือกับผู้ใหญ่ เข้าใจความคิดของคนอื่น มีความสามารถในการคิด ต้องการให้ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงเวลาที่เด็กได้รับการพัฒนาทักษะทางสังคม เนื่องด้วยทักษะเหล่านี้จำเป็นสำหรับการพัฒนาการยอมรับตนเองและการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม และจะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนต่อไป (Marshall and Others, 2002.)               ทุกชาติมองเห็นความสำคัญในการจัดบริการในการดูแลและให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัยโดยกระจายจัดให้ทั่วถึงทั้งประเทศ สำหรับประเทศไทยได้มีการจัดให้บริการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยทั้งในภาครัฐและเอกชนเพื่อกระจายโอกาสให้แก่เด็กทุกกลุ่ม         […]

webadmin

January 15, 2561

เรื่อง การสอนแบบมอนเตสซอรี่

การสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori Method) รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2541)               การสอนแบบมอนเตสซอรี่ เป็นการสอนรูปแบบหนึ่งที่เหมาะกับเด็ก ทั้งเด็กพิเศษ และเด็กปกติ Dr. Montessori เป็นผู้ริเริ่มจัดการเรียนการสอน สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Mentally Retarded Children) โดยใช้วิธีการคิดขึ้นเองจนประสบผลสำเร็จ และได้พัฒนาวิธีการสอนต่อมาจนสมบูรณ์แบบ เพื่อใช้เป็นวิธีสอนสำหรับเด็กโดยทั่วๆ ไป               Dr. Maria Montessori (1870-1952) เป็นผู้หญิงคนแรกของอิตาลีที่ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต เมื่อจบการศึกษาแล้วได้มีโอกาสทำงานกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ทำให้เกิดแนวคิดและเข้าใจถึงการเรียนรู้ของเด็กว่า ถ้าเด็กได้มีบางสิ่งบางอย่างที่จะจับต้อง และบิด-หมุนด้วยมือ สมองย่อมจะทำหน้าที่ตอบสนองได้ Dr. Montessori ได้ให้ความสนใจศึกษางานของ Edward Seguin ผู้ที่ริเริ่มในการพัฒนาระบบการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และงานของ Jean Itard […]

webadmin

January 15, 2561

เรื่อง การสอนเด็กปฐมวัยให้เข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน

การสอนเด็กปฐมวัยให้เข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2558) บทนำ               ปี พ.ศ. 2558 เป็นจุดเริ่มต้นที่ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ดังนั้น มีความจำเป็นที่ทุกคนในชาติ ในทุกระดับการศึกษา ต้องมีความรู้เกี่ยวกับความหมายของ คำว่า อาเซียน รู้จักเรื่องราวต่างๆ ของประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ของประชาคมอาเซียน ทั้งประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศเหล่านี้ ที่จะทำให้เข้าใจ เข้าถึงและร่วมมือกันทำงานร่วมกัน สรรสร้างวิถีทางในการพัฒนาประเทศในกลุ่มไปด้วยกัน การศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาคน ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ และมีเจตคติ เหมาะกับการเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียน               การศึกษาปฐมวัย เป็นการศึกษาระดับแรกที่จะช่วยในการตระเตรียมเด็กให้มีความรู้ความเข้าใจ มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับการเป็นเด็กไทยในประชาคมอาเซียน ซึ่งการจัดการศึกษาเพื่อสร้างพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่เด็กปฐมวัย สามารถจัดการได้หลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าสถานศึกษาจะมีปรัชญา หลักการ และแนวคิดใดเป็นหลักในการจัดการศึกษา ก็สามารถบูรณาการความรู้ใหม่นี้เข้าไปได้ในหลักสูตรมีการปรับปรุงเนื้อหาสาระ จัดหน่วยการเรียน และกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเหมาะสม การเตรียมความพร้อมทักษะต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ และดำรงชีวิตท่ามกลางความหลากหลายของวัฒนธรรมจากประเทศต่างๆ รวมถึง การที่จะสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามของไทยสู่ประเทศอื่น และเปิดรับสิ่งที่ดีงามของชาติอื่น […]

webadmin

January 15, 2561

เรื่อง การเป็นผู้นำทางการศึกษาปฐมวัย

การเป็นผู้นำทางการศึกษาปฐมวัย  รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2557)               การศึกษาปฐมวัย (early childhood education) เป็นการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย (early childhood) วัยตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 8 ปี ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่กำหนดโดยสมาคมแห่งชาติ เพื่อการศึกษาของเด็กปฐมวัย (The National Association for the Education of Young Children: NAEYC) ในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัย จะมีโปรแกรมทางการศึกษาปฐมวัย (early childhood programs) ที่จะจัดบริการให้แก่เด็กวัยดังกล่าวข้างต้น อาจจะเป็นการจัดบริการเป็นบางเวลา (part time) หรือเต็มเวลา (full time) ตามการกำหนดเวลาของแต่ละสถานศึกษา การให้บริการแก่เด็กปฐมวัย อาจจะออกมาในรูปแบบ สถานรับเลี้ยงเด็ก/ศูนย์ดูแลเด็ก/ศูนย์พัฒนาเด็ก (centers) เป็นการเลี้ยงดูเด็กในบ้าน (homes) หรือเป็นสถานศึกษาปฐมวัยในรูปแบบของโรงเรียน (Morrison, 2000) เมื่อมีการดำเนินการจัดการศึกษาปฐมวัย สิ่งที่ต้องตามมา คือ ผู้รับผิดชอบดูแลการดำเนินงานบริหารจัดการสถานที่แต่ละแห่งที่ให้บริการในการดูแล และให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย […]

webadmin

January 15, 2561

เรื่อง พัฒนาภาษาไทยสำหรับเด็กปฐมวัย

พัฒนาภาษาไทยสำหรับเด็กปฐมวัย รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2548)                    ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย ภาษาเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญที่จะช่วยให้การจัดประสบการณ์ประสบความสำเร็จตามที่ได้วางเป้าหมายไว้ ภาษามีความจำเป็นสำหรับการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ดังนั้นเด็กจะต้องได้รับการพัฒนาภาษา ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ของเด็ก และการพัฒนาภาษาให้แก่เด็กโดยเฉพาะภาษาไทย ควรจะให้มีความสอดคล้องต่อเนื่องกันจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยไปสู่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน                    การพัฒนาภาษาไทยให้แก่เด็กปฐมวัย ต้องเน้นให้บูรณาการโดยมีความมุ่งหมายหลักในการพัฒนาทักษะต่างๆสอดแทรกเข้าไปในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก โดยให้เด็กได้พัฒนาทักษะในการฟัง การดู การพูด การอ่านและการเขียน รู้หลักเกณฑ์ทางภาษา เกิดค่านิยมโดยเห็นความสำคัญ ความงดงาม ซาบซึ้ง รักการอ่าน รู้จักการแสวงหา และมีความสามารถในการจัดการที่จะนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์                    เพื่อให้การจัดประสบการณ์ทางภาษามีความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กครูมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้าใจพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและพัฒนาการภาษาของเด็กปฐมวัย     […]

webadmin

January 12, 2561

หัวใจของการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา

                  วิชัย พาณิชย์สวย1 บทคัดย่อ           คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีลักษณะเฉพาะและเนื้อหามีความเป็นนามธรรมสูง การสอนคณิตศาสตร์ให้เกิดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์จึงต้องเข้าใจธรรมชาติและแก่นของวิชานี้ โดยเฉพาะการสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา ครูผู้สอนต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในสามองค์ประกอบหลัก ซึ่งถือเป็นหัวใจของการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา อันประกอบด้วยส่วนที่เป็นความคิดรวบยอด (Concept) ส่วนที่เป็นทักษะการคิดคำนวณ (Skill) และส่วนสุดท้ายคือส่วนที่เป็นการแก้ปัญหา/สถานการณ์ (Problem Solving) ในบรรดาองค์ประกอบทั้งสามส่วนนี้ การแก้ปัญหา/สถานการณ์เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด และสิ่งที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหา/สถานการณ์ คือทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Process Skill) คำสำคัญ : ความคิดรวบยอด (Concept) ทักษะ (Skill) การแก้ปัญหา/สถานการณ์ (Problem Solving) ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Process Skill) ย้อนหลังไปราว 170 ปี คือในปีคริสต์ศักราช 1847-1849 หรือปีพุทธศักราช 2390-2392 อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาได้กล่าวคำคมไว้ว่า “Give me six hours to chop down a […]

webadmin

March 23, 2560
1 2 3