การวัดผล ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนยุคโควิค-19

โดย…ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน
สิงหาคม 2564

การวัดผล-ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนยุคโควิค-19

การวัดผล-ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนเน้นเทคนิควิธีที่ทำให้รู้ว่า นักเรียนเกิดการเรียนรู้จริงหรือไม่เกิดการเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง และเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงไร
การวัดผล-ประเมินผลในปัจจุบันให้ความสำคัญกับครู จึงเรียกเทคนิคนี้ว่า “Assessment” แทนคำว่า Measurement (การวัด) และ Evaluation (การประเมิน)
เมื่อครูคือบุคคลสำคัญในการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน ครูจึงต้องรู้ว่าการวัดผล-ประเมินผลมีหลายวิธี (มี 50 วิธี) และครูต้องเลือกเทคนิคที่สอดคล้องกับวิธีการจัดการเรียนการสอนกับวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ดังเสนอเป็นวงจรไม่รู้จบเชื่อมโยงกัน

ตัวอย่าง
ถ้าครูต้องการให้นักเรียนคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาเป็น ครูต้องเลือกกระบวนการเรียนรู้และวิธีวัดผล-ประเมินผลที่สอดคล้องกับความต้องการดังกล่าว
OLA
ต้องการให้นักเรียนคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาเป็น  1. ครูระบุปัญหาที่เหมาะสมกับวัย 2. ให้นักเรียนระดมสมอง หาวิธี
แก้ไขหลากหลายวิธี 3. ครูเสนอแนวทางตรวจสอบว่าวิธีแก้ปัญหาใดเหมาะสม 4. ครูระบุปัญหาใหม่ให้นักเรียน แบ่งกลุ่มหาวิธีแก้ไขและนำเสนอ 5. สรุปว่าวิธีใดแก้ไขได้ดีกว่า 6. ครูให้คะแนนเต็ม 10 คะแนน
ว่ากลุ่มของตัวเองได้กี่คะแนน เพราะอะไร
พิจารณาจากวิธีแก้ของนักเรียนว่ามีกี่วิธี     พิจารณาจากผลงานกลุ่ม       พิจารณาจากคะแนนที่กลุ่มระบุพร้อมเหตุผล  

2. วิธีวัด-ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน

มี 50 เทคนิค (อ่านเพิ่มเติมจากหนังสือของ อ.อุทุมพร จามรมาน) แต่ที่ใช้กันมากมี 10 วิธี ซึ่งครอบคลุมพัฒนาการ 5 ด้าน ของนักเรียน (ร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญาและทักษะ) สรุปเครื่องมือวัดผล-ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน มีดังนี้

  1. แบบทดสอบวัดความสามารถทางสมอง
  2. มาตร (Scale) วัดลักษณะทางจิตวิทยา
  3. แบบสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออก
  4. แบบตรวจสอบรายการหรือขั้นตอน
  5. แบบประเมินคุณภาพ (ผลงาน)
  6. แบบสอบถามความคิดเห็นในเรื่องเพื่อน
  7. แบบสัมภาษณ์ ความรู้ ความคิด ความรู้สึก
  8. แบบบันทึกข้อมูลทุติยภูมิ เช่น ประวัติ
  9. เครื่องชั่งนำหนัก เครื่องวัดส่วนสูง
  10. เครื่องมือทางแพทย์ วัดร่างกาย

เทคนิคการวัดผล-ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่ใช้โดยทั่วไปสรุปในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 เทคนิคการวัดผล-ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน

Assessment Techniquesวัด-ประเมินอะไร
1. การสอบ (Testing) 1.1 เครื่องมือเรียกแบบทดสอบ 1.2 แบบทดสอบมี 2 ประเภท คือแบบเป็นปรนัย (เลือกตอบจับคู่ผิด-ถูก) และแบบเป็นอัตนัย (เติมคำเขียนวลี) 1.3 การจัดสอบทำได้หลากหลาย สอบแบบปิด หนังสือ เปีดหนังสือ สอบในห้อง ที่บ้าน สอบเดียว สอบกลุ่ม 1.4 แบบทดสอบมีทั้งที่ใช้ตัวอักษร รูปภาพสัญลักษณ์ 1.5 คะแนนสอบมีผิด-ถูก  วัด Cognitive หรือความสามารถทางสมอง(ความรู้ ความคิด) ความรู้คือความจำ ความเข้มใจ การนำความรู้ไปใช้ ความคิดมีหลายประเภท เช่น คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์    
2. การวัดลักษณะคน
2.1 เครื่องมือเรียก มาตร (Scale)
2.2 วัด 2 ระดับ คือความรู้สึกในใจกับพฤติกรรมที่แสดง
2.3 แบบวัดลักษณะทางจิตวิทยา เช่น Rating Scale Ranking Self Report
2.4 คะแนนไม่มีผิด-ถูก
วัด Psychological หรือวัดสิ่งที่อยู่ในใจกับพฤติกรรมที่แสดงออก เช่น บุคลิกภาพ จริยธรรม คุณธรรม ความดี
3. การวัดผลงานภาคปฏิบัติ
3.1 ตัวอย่าง เช่น ผลการทำกิจกรรม โครงงาน
3.2 เครื่องมือวัดมี 3 อย่าง
(1) วัดความรู้ในงานคือแบบทดสอบ
(2) เช็ดขั้นตอนว่าครบคือ แบบ Check List
แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์
(3) ประเมินคุณภาพผลงานคือ แบบประเมิน
และแบบสอบถามความคิดเห็น
3.3 นำคะแนนทั้ง 3 ส่วนมาพิจารณา
วัด Psycho-motor หรือ Practical Performance หรือทักษะ

3. ข้อเสนอแนะในการวัดผล-ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนยุคโควิค-19

กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนยุคโควิค-19 ทั้ง 5 รูปแบบ หากแต่ยังขาดประเด็นวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนและเทคนิคการวัดผล-ประเมินผล ในบทความนี้จะเสนอแนะการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่อิงวัตถุประสงค์และเทคนิคการวัดผล-ประเมินผลที่เป็นระบบ OLA
ในยุคปรกติ ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้ครบ 20 สัปดาห์ต่อภาคเรียนและ 200 วันเรียนต่อปี แต่ในยุคโควิด-19 มีข้อจำกัดเรื่อง Social Distancing ทำให้ครูต้องลดเวลาสอนจริงลงและให้นักเรียนเรียนเองมากขึ้น โดยวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพเท่าเดิม

ในยุคโควิด-19 ครูสอนจริงได้เพียง 4-5 ครั้ง ๆ ละ 1 ชั่วโมงต่อภาคเรียน (20 สัปดาห์) ดังนั้นครูจะต้องเตรียมการดังนี้

1. ครูต้องอ่านเนื้อหาสาระที่จะสอนรายวิชาใน 1 ภาคเรียนให้เข้าใจและสังเคราะห์ออกมาเป็นประเด็นหลักหรือ Concept (ความรู้รวบยอด) เพียง 4-5 ประเด็นเพื่อสอนจริง

ตัวอย่างประเด็นหลักหรือ Concept ในวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง “การรวม” คือ การบวก คูณ ยกกำลัง ตัวเลขหลักเดียวและหลายหลัก ครูสามารถสอน “การรวม” ไปพร้อมกันได้ใน 1 ชั่วโมง และวางแผนการสอนจริงในรูปแบบ On Site Online On Air On Demand ในขณะเดียวกันครูต้องจัดทำเอกสารให้นักเรียนอ่านแบบฝึกหัด การบ้าน กิจกรรมต่างๆเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เรื่อง “การรวม”

  1. ครูวางแผนการสอบถามครบ 20 สัปดาห์ โดยระบุว่าในแต่ละสัปดาห์ครูทำอะไร นักเรียนทำอะไร
  2. ครูระบุวิธีวัดที่สอดคล้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ในยุคโควิด-19 โดยเน้นที่บทบาทนักเรียน เช่น
    (1) การเข้าเรียน (ในช่วงครูสอนจริง Online, On Site, On Demand, On Air) ครบถ้วนและตรงเวลา
    (2) การส่งงาน การบ้าน แบบฝึกหัด กิจกรรมครบและตรงเวลา
    (3) ผลงานมีคุณภาพ สมบูรณ์
    (4) อื่น ๆ (ระบุ)
  3. ครูระบุเกณฑ์ประเมินผล(ตัดเกรด)รายวิชาที่สอดกล้องกับการวัด เช่น
    เกรด 4 หมายถึง เข้าเรียนตรงเวลา ครบทุกครั้ง ส่งงานครบ ตรงเวลา ผลงานถูกต้อง มีคุณภาพ ฯลฯ
    เกรด 3 หมายถึง มีข้อบกพร่อง 20%
    เกรด 2 หมายถึง มีข้อบกพร่อง 40%
    เกรด 1 หมายถึง มีข้อบกพร่อง 60%
    เกรด 0 หมายถึง นอกเหนือจากนี้
  4. ครูจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง แผนการสอน 20 สัปดาห์รายวิชา แบบฝึกหัด การบ้าน หัวข้อกิจกรรม
    โครงงานเดี่ยว/กลุ่ม พร้อมระบุวันเวลาที่ส่งครู และส่งเอกสารดังกล่าวให้นักเรียนล่วงหน้า
  5. ครูจัดทำกำหนดการให้ Feed back ผลการเรียนรายวิชาและผลการวัดผล-ประเมินผลการเรียนรายวิชา แจ้งผู้ปกครองและตัวนักเรียนล่วงหน้า

ครูทำข้อ 1-6 ทุกวิชาที่สอน ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องให้นักเรียนล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนเปิดเรียน
และทำการสอนจริง 4-5 ครั้งต่อภาคเรียน ติดตามความก้าวหน้านักเรียนรายบุคคลเป็นระยะ ๆ

ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรายภาคเรียน (20 สัปดาห์)
1 วิชา สอน 2 ชั่วโมง รวม 40 ชั่วโมง

ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ตลอดภาคเรียน

ตัวอย่างแผนการสอนรายครั้ง (เช่น 2 ชั่วโมงสอนจริง)
รูปแบบ Online

ข้อเสนอแนะ

ในการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ 5 รูปแบบของ กศร. โดยอิงระบบ OLA
กระทรวงศึกษาธิการเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนยุคโควิค-19 ไว้ 5 รูปแบบ คือ
1 On Site เน้นการเรียนที่โรงงานภายใต้การควบคุมของสถานการณ์ โควิค-19
2 On Air เน้นการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3 On Demand เน้นการเรียนการสอนผ่าน Application
4 Online เน้นการเรียนการสอนผ่าน Internet
5 On Hard เน้นการเรียนการสอนจากเอกสาร สื่อ ตำรา แบบเรียน แบบฝึกหัดที่ครู
นำไปให้ที่บ้าน