โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “ขับเคลื่อนการเรียนรู้คุณหนู ๆ ด้วยสมอง 2 ซีก: เล่น บันเทิง ฉลาด”

1. หลักการและเหตุผล
          ปัจจุบันสังคมโลกในยุคศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กระบวนทัศน์ในการพัฒนาเด็กในมิติของสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมแบบเดิมต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยยิ่งขึ้น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ การอบรมเลี้ยงดู รวมถึงการให้การศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย  การเตรียมพร้อมให้กับเด็กปฐมวัยเติบโตอย่างเป็นองค์รวม (ด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา) เพื่อไม่ให้หลงไปตามกระแสการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันอย่างสุดโต่ง หรือมีความเสี่ยงต่อคุณภาพชีวิตในวัยเด็ก เป็นความท้ายทายในการสร้างสมดุลอย่างยิ่งต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้น การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในยุคปัจจุบันจึงควรมีความรู้เท่าทันสื่อ และรู้จักปรับบทบาทการให้ความรู้แบบเดิมๆ มาเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แทน ผลลัพธ์จากงานวิจัยทางสมองชี้ชัดว่า กลไกลการทำงานของสมองเด็กในช่วงอายุ 0 – 6 ปี นั้นเป็นสิ่งมหัศจรรย์  เพราะสมองซีกซ้ายและซีกขวาทำงานประสานสัมพันธ์กันทั้งสองซีก สมองในส่วนของการสร้างสรรค์จะช่วยขับเคลื่อนสมองในส่วนของการคิดเชิงเหตุผล จากหลักการดังกล่าว การสร้างสรรค์กิจกรรมที่น่าสนใจ มีความเหมาะสมกับวัย และมีความหลากหลายสำหรับเด็กปฐมวัย อีกทั้งส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ที่จัดขึ้น อาทิ กิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหว กิจกรรมศิลปะ ก็ย่อมสนับสนุนสามารถของเด็กในการทำกิจกรรมคณิตศาสตร์และกิจกรรมวิทยาศาสตร์เช่นกัน

จากเหตุผลข้างต้น PECERA Thailand ด้วยการขับเคลื่อนของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีภารกิจสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ เผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา การส่งเสริม และการดำเนินงานทางการพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ขับเคลื่อนการเรียนรู้คุณหนู ๆ ด้วยสมอง 2 ซีก: เล่น บันเทิง ฉลาด ขึ้น เพื่อเป็นการบริการวิชาการและเผยแพร่องค์ความรู้ทางศาสตร์การศึกษาปฐมวัยแก่สาธารณะชน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยร่วมกันต่อไป

2. วัตถุประสงค์
          2.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการเห็นความสำคัญของการออกแบบกิจกรรมศิลปะ ดนตรีและการเคลื่อนไหว คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ที่ส่งเสริมสมองทั้งสองซีกของเด็กปฐมวัย
          2.2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการสามารถออกแบบกิจกรรมศิลปะ ดนตรีและการเคลื่อนไหว คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ที่ส่งเสริมสมองทั้งสองซีกของเด็กปฐมวัยได้

3. กลุ่มเป้าหมาย
          บุคลากรครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาปฐมวัยทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนจำนวน รุ่นละ 150 คน

4. ระยะเวลาในการดำเนินการและสถานที่ดำเนินการ*
         
24-25 สิงหาคม 2562
          ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

5. รูปแบบการจัดอบรม/วิทยากร
          การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ใช้เวลาการอบรมรุ่นละ 2 วัน โดยใช้รูปแบบการบรรยายและฝึกปฏิบัติการออกแบบกิจกรรมศิลปะ ดนตรีและการเคลื่อนไหว คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์/ วิทยากรและผู้ช่วยวิทยากร

6. การรับสมัคร
         
6.1 ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ
          กรอกใบสมัครและส่งใบสมัครพร้อมหลักฐานการโอนเงิน หรือใบนำฝาก ระบุรายชื่อผู้สมัครและเบอร์โทรศัพท์ในใบนำฝาก เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ ทางอีเมล pecerathailand@hotmail.com
          6.2 การชำระค่าลงทะเบียน
          เมื่อกรอกใบสมัครแล้ว กรุณาชำระเงินค่าลงทะเบียนโดยการโอนเงินผ่านชื่อบัญชี น.ส.นิศารัตน์ อิสระมโนรส ประเภทบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ เลขที่บัญชี  079-7-16044-7 ก่อนกำหนดระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า 5 วัน และส่งหลักฐานการชำระเงินมาที่อีเมล pecerathailand@hotmail.com โดยจะแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมก่อนการอบรม 3 วัน ผ่านทาง www.pecerathailand.org  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณจันทรา สาดะระ 02-244-5502 หรือ คุณปานใจ คงสิทธิ์  02-244-5507 หรือ ดร.ปุณยวีร์ จิโรภาสวรพงศ์ 02-244-5521

 7. ค่าลงทะเบียน
          ค่าลงทะเบียนในโครงการคนละ 1,500 บาท (หนึ่งพันห้าบาทถ้วน) รายละเอียดประกอบด้วย
          7.1 ค่าใช้จ่ายทางวิชาการประกอบด้วย ค่าวิทยากรและค่าผู้ช่วยวิทยากร รวมทั้งชุดเอกสารและวัสดุประกอบการบรรยายทั้งหมด
          7.2 ค่าอาหารกลางวัน 2 มื้อ (2 วัน) ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง 4 มื้อ (2 วัน)

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
         
8.1 ผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการออกแบบกิจกรรมศิลปะ ดนตรีและการเคลื่อนไหว คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมสมองทั้งสองซีกของเด็กปฐมวัย
          8.2 ผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการมีความพึงพอใจในการออกแบบกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมอบรมมีส่วนร่วมในการออกแบบทุกขั้นตอน
          8.3 ผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการนำความรู้และกิจกรรมที่ได้จากการอบรม ไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยในชั้นเรียนของตน