เรื่อง รอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา : บทบาทของผู้ปกครอง

เรียบเรียงโดย รศ.ดร.จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ และนางสาวพัชรัตน์ ลออปักษา                                                                (ตุลาคม 2561) บทความฉบับนี้เป็นการเรียบเรียงข้อมูลในส่วนที่จะให้ข้อคิดเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติของผู้ปกครองในช่วงรอยเชื่อมต่อจากระดับชั้นอนุบาลไปสู่ระดับชั้นประถมศึกษา จากงานวิจัย เรื่อง บทบาทของผู้ปกครองในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา ของ พัชรัตน์ ลออปักษา (2561) ที่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่า รอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถมศึกษา หมายถึง ช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา ซึ่งมีการจัดการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันตามระบบการศึกษา ทำให้เด็กต้องปรับตัวกับการเรียน และสภาพแวดล้อมใหม่ รอยเชื่อมต่อทางการศึกษาในทุกช่วง เป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็ก เพราะเด็กจะต้องพบกับความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะจากบ้านไปสถานที่ต่างๆ หรือจากบ้านไปสู่สถานรับเลี้ยงเด็ก จากโรงเรียนอนุบาลไปสู่โรงเรียนประถมศึกษา พ่อแม่เป็นบุคคลกลุ่มแรกที่จะต้องเข้าใจและเตรียมพร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงด้วยการช่วยเหลือ ดูแลและประคับประคองให้เด็กผ่านช่วงเวลาสำคัญนี้ไปให้ได้ เด็กจะพบกับบุคคลที่ไม่รู้จัก สถานที่ที่ไม่คุ้นเคย ต้องไปอยู่ร่วมกับเด็กอื่นที่มาจากหลากหลายบริบท ซึ่งพ่อแม่หรือผู้ปกครองเองก็จะพบกับสิ่งใหม่เช่นเดียวกันกับเด็ก ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของพ่อแม่ผู้ปกครองและเด็กคงจะต้องสอดคล้องประสานกัน เพื่อช่วยนำความสุข และความสำเร็จไปสู่เด็ก แนวทางปฏิบัติของผู้ปกครองในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา พัชรัตน์ ลออปักษา (2561 : 42 – 67) ได้ศึกษาแนวทางปฏิบัติของผู้ปกครองจากเอกสารทางวิชาการต่างๆ นำเสนอไว้ในงานวิจัยดังนี้ Peters (2010) ได้สรุปแนวทางสำหรับผู้ปกครองในการสนับสนุนรอยเชื่อมต่อประกอบด้วย (1) การให้การศึกษาที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (2) […]

webadmin

October 10, 2561

เรื่อง รอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากอนุบาลศึกษาถึงประถมศึกษา

เรียบเรียงโดย รองศาสตราจารย์ ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์ และนางสาวกมลทิพย์ นิ้มคธาวุธ (กันยายน, 2561) รอยเชื่อมต่อทางการศึกษา เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผ่านจากระดับชั้นเรียนหนึ่งไปยังระดับชั้นเรียนอีกระดับหนึ่ง ที่มีธรรมชาติและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลโดยตรงกับเด็กในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ใหม่ และอาจทำให้เด็กเกิดความกังวลใจ (กมลทิพย์  นิ้มคธาวุธ, 2561 สรุปความหมายจาก Dunlop and Fabian (2002), Department of Education and Early Childhood Development (2009), สุจิตรพร  สีฝั้น (2550) และยศวีร์  สายฟ้า (2557)) การเปลี่ยนแปลงจากระดับชั้นอนุบาลและระดับชั้นประถมศึกษาเป็นช่วงเวลาที่สำคัญกับชีวิตของเด็ก เนื่องจากเป็นการเริ่มต้นการศึกษาภาคบังคับ เด็กที่กำลังเข้าสู่โรงเรียน (อายุระหว่าง 5-7 ปี) ยังปรับตัวได้ไม่ดีนัก และต้องเผชิญกับรูปแบบและลักษณะการเรียนรู้ที่เป็นทางการมากขึ้น เด็กที่เพิ่งเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กในระยะยาว การมีรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของช่วงที่สำคัญดังกล่าวนี้จะส่งผลให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการทำงานในอนาคต (กมลทิพย์  นิ้มคธาวุธ, 2561) แนวทางในการเชื่อมต่อการศึกษาระหว่างชั้นอนุบาลศึกษาและประถมศึกษา ข้อมูลจากงานวิจัยของ กมลทิพย์  นิ้มคธาวุธ เรื่อง […]

webadmin

September 21, 2561