เรื่อง การจัดการศึกษาและการจัดการเรียนฯ

การจัดการศึกษา และการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาในสหรัฐอเมริกา รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2540)               สหรัฐอเมริกา ไม่มีระบบการศึกษาของชาติ การศึกษาของประชาชนดำเนินการอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐและท้องถิ่น บทบาทของรัฐบาลกลาง (The Federal Role)               สำหรับรัฐบาลกลางจะให้การสนับสนุนและเข้าไปกระตุ้นได้เฉพาะที่กำหนดเอาไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น การบริหารของรัฐบาลกลาง ทั้งทางด้านตุลาการ นิติบัญญัติ และบริหารมีผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อการจัดการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ดังนี้               1.   ข้อกำหนดถึงอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลกลางตามรัฐธรรมนูญ                      รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ไม่มีการกล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลกลางทางด้านการศึกษา แต่มีบางมาตราตีความได้ในส่วนที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับโรงเรียน เช่น […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง ความเป็นมาของการประถมศึกษา

ความเป็นมาของการประถมศึกษาในสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1647 – ค.ศ. 1957)  รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2540)               โรงเรียนประถมศึกษาในสหรัฐอเมริกา จัดตั้งขึ้นมาเพื่อสนองกับความต้องการของสังคม ที่ขยายตัวและเป็นสังคมที่มีความแตกต่างกัน การสนองตอบของโรงเรียนเป็นผลมาจากการเน้นในจุดมุ่งหมายของการศึกษา ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป คือ               1.   เพื่อคงไว้ซึ่งสภาพสังคมในปัจจุบัน และความต้องการในปัจจุบันนั้น               2.   เปลี่ยนแปลงสภาพสังคมที่เป็นอยู่ โครงสร้าง กฎระเบียบ และปรับไปตามทิศทาง ที่ได้กำหนดเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว               3.   เพื่อเตรียมคนแต่ละคน ที่จะต้องเข้าไปกำหนดและทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง แนวคิดและแนวทางปฏิบัติในการสอน

แนวคิดและแนวปฏิบัติในการสอนแบบมอนเตสซอรี่สำหรับเด็กปฐมวัย รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2557)                การให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพของแต่ละคนเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาเด็กต่อไปในอนาคต ความสนใจ ความต้องการตามธรรมชาติของเด็กควรได้รับความเอาใจใส่จากผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการดูแลเด็กปฐมวัย การส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้พัฒนาทุกด้านอย่างเต็มศักยภาพของตน เป็นความพยายามของแนวคิดหลายๆ แนวคิดทางการศึกษาปฐมวัย ด้วยมุ่งหวังให้เด็กได้เจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งกายและจิต มีความสุข สนุกสนาน และได้เรียนในสิ่งที่ต้องการเรียนได้ทำกิจกรรมในสิ่งที่ต้องการศึกษาค้นคว้าทั้งด้วยตนเองพียงลำพังและการทำงานร่วมกับเพื่อนๆ การจัดโปรแกรมการศึกษาปฐมวัยที่จะประสบความสำเร็จได้ดีและทำเพื่อเด็ก ควรจะเป็นโปรแกรมที่มองเห็นเด็กเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด               แนวคิดของมอนเตสซอรี่ในการจัดการเรียนการสอน เป็นแนวคิดหนึ่งที่ให้ความสำคัญแก่เด็ก โดยได้มีการพัฒนาหลักสูตรขึ้นมาบนพื้นฐานปรัชญาและหลักการของการที่ผู้ใหญ่ต้องให้การยอมรับนับถือเด็กในสภาพความเป็นจริงของเด็ก จัดการศึกษาให้แก่เด็กอย่างที่เด็กต้องการเรียนรู้ไม่ใช่ตามที่ผู้ใหญ่ต้องการ จากจิตที่ซึมซาบได้ของเด็ก ได้นำมาใช้ในการสาธิตการสอนให้แก่เด็ก เด็กได้มีโอกาสศึกษาด้วยตนเองอย่างอิสระจากสิ่งแวดล้อมที่จัดไว้ให้อย่างมีจุดมุ่งหมาย วัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างมีขนาดของเด็กและเป็นสิ่งที่เด็กต้องการศึกษา เมื่อเด็กทำงาน เด็กจะสงบ มีสมาธิ มีความรับผิดชอบในการที่จะทำงานให้สำเร็จ ในระหว่างการทำงานเด็กสามารถแก้ปัญหาและแก้ไขข้อบกพร่องในการทำงานของตนได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีใครมาชี้นำ               ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ (ค.ศ. […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองฯ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : อีกหนึ่งแนวคิดของการดูแลและการจัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัย  รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2550)               การประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ทำให้เกิดการตื่นตัวในการปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษาระดับต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาดูแลรับผิดชอบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัยขึ้นไป โดยที่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานศึกษาประเภทหนึ่งที่ให้การดูแลและจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย ในช่วงอายุ 3 – 5 ปี ซึ่งแต่ละแห่งอาจจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของอายุเด็กที่มีความแตกต่างกันไปตั้งแต่  2 – 7 ปี               ผลของการวิจัยและข้อมูลใหม่ๆ ที่ได้นำมาเผยแพร่ในปัจจุบันทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโดยเฉพาะการจัดการศึกษาปฐมวัย ต้องกลับมาพิจารณาถึงการนำเสนอรูปแบบการจัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับพัฒนาการด้านต่างๆ และมุ่งให้เด็กได้เจริญเติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ ทางกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้สนับสนุนให้ผู้ที่ทำงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้พัฒนาตนเองให้เกิดความเข้าใจในการทำงานกับเด็ก โดยจัดการอบรมผู้ดูแลเด็กด้วยหลักสูตร 7 วัน ที่เป็นหลักสูตรระยะสั้นและเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยได้ความรู้ทั้งในส่วนของการดูแลและการจัดการศึกษาให้แก่เด็กได้อย่างเหมาะสม และรัฐบาลเองได้มีนโยบายสนับสนุนด้วยงบประมาณในการพัฒนาคนและพัฒนาศูนย์ต่างๆ ได้จัดให้มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบในแต่ละจังหวัด เพื่อให้เป็นตัวอย่างและเป็นส่วนกระตุ้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงานกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศคิดปรับพัฒนางานที่รับผิดชอบโดยเห็นแนวทางในการปฏิบัติได้จริงจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบเหล่านั้น     […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง แนวคิดการสอนแบบมอนเตสซอรี่

แนวคิดการสอนแบบมอนเตสซอรี่ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2549) บทนำ               การให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพของแต่ละคนเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาเด็กต่อไปในอนาคต ความสนใจ ความต้องการตามธรรมชาติของเด็กควรได้รับความเอาใจใส่จากผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการดูแลเด็กปฐมวัย การส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้พัฒนาทุกด้านอย่างเต็มศักยภาพของตน เป็นความพยายามของแนวคิดหลายๆ แนวคิดทางการศึกษาปฐมวัยด้วยมุ่งหวังให้เด็กได้เจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งทางกายและจิต มีความสุข สนุกสนาน และได้เรียนในสิ่งที่ต้องการเรียน ได้ทำกิจกรรมในสิ่งที่ต้องการศึกษาค้นคว้าทั้งด้วยตนเองเพียงลำพังและการทำงานร่วมกับเพื่อนๆ การจัดโปรแกรมการศึกษาปฐมวัยที่จะประสบความสำเร็จได้ดีและทำเพื่อเด็กควรจะเป็นโปรแกรมที่มองเห็นเด็กเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด               แนวคิดของมอนเตสซอรี่ในการจัดการเรียนการสอน เป็นแนวคิดหนึ่งที่ให้ความสำคัญแก่เด็ก  โดยได้มีการพัฒนาหลักสูตรขึ้นมาบนพื้นฐานปรัชญาและหลักการของการที่ผู้ใหญ่ต้องให้ การยอมรับนับถือเด็กในสภาพความเป็นจริงของเด็ก จัดการศึกษาให้เด็กอย่างที่เด็กต้องการเรียนรู้ไม่ใช่ตามที่ผู้ใหญ่ต้องกาs จากจิตที่ซึมซาบได้ของเด็ก ได้นำมาใช้ในการสาธิตการสอนให้แก่เด็ก เด็กได้มีโอกาสศึกษาด้วยตนเองอย่างอิสระจากสิ่งแวดล้อมที่จัดไว้ให้อย่างมีจุดมุ่งหมาย วัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างมีขนาดเหมาะกับวัยของเด็กและเป็นสิ่งที่เด็กต้องการศึกษา เมื่อเด็กทำงาน เด็กจะสงบ มีสมาธิ มีความรับผิดชอบในการที่จะทำงานให้สำเร็จ ในระหว่างการทำงานเด็กสามารถคิดแก้ปัญหาและแก้ไขข้อบกพร่องในการทำงานของตนได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีใครมาชี้นำ               ดร.มาเรีย  มอนเตสซอรี่ […]

webadmin

January 25, 2561

โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ

โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ เป็นโรงเรียนต้นแบบปฐมวัยที่มุ่งเน้นในการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านกิจกรรม หลากหลาย ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ปลูกฝังให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน แสวงหาความรู้ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีความสามารถใช้เทคโนโลยีและภาษาอังกฤษในการสื่อสาร มีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

webadmin

January 16, 2561

เรื่อง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ  รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2547) บทนำ               ข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางด้านสมองและการเลี้ยงดูเด็ก รวมถึงโปรแกรมการจัดการศึกษาแก่เด็กปฐมวัย ได้ระบุชัดเจนว่า ประสบการณ์ที่มีคุณภาพในช่วงแรกของชีวิตมีผลต่อพัฒนาการเด็กและมีผลในด้านความพร้อมของเด็กที่จะเรียนต่อไป ดังนั้นการดูแลและจัดการศึกษาให้แก่เด็กในช่วงแรก การให้การส่งเสริมทางอารมณ์และประสบการณ์ที่เด็กได้รับเป็นสิ่งสำคัญในการที่เด็กจะพัฒนาต่อไปได้อย่างประสบผลสำเร็จ               หลักฐานทางการวิจัยเกี่ยวกับการดูแล ให้การศึกษาและพัฒนาการของเด็กมีความชัดเจนมากกว่า คุณภาพ มีความเชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็ก การดูแลที่มีคุณภาพสูงจะมีผลออกมาที่เด็ก ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องการที่จะเห็นว่าเด็กที่เป็นบุตรหลานของตน มีความเป็นมิตรกับคนรอบข้างให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มและร่วมมือกับผู้ใหญ่ เข้าใจความคิดของคนอื่น มีความสามารถในการคิด ต้องการให้ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงเวลาที่เด็กได้รับการพัฒนาทักษะทางสังคม เนื่องด้วยทักษะเหล่านี้จำเป็นสำหรับการพัฒนาการยอมรับตนเองและการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม และจะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนต่อไป (Marshall and Others, 2002.)               ทุกชาติมองเห็นความสำคัญในการจัดบริการในการดูแลและให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัยโดยกระจายจัดให้ทั่วถึงทั้งประเทศ สำหรับประเทศไทยได้มีการจัดให้บริการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยทั้งในภาครัฐและเอกชนเพื่อกระจายโอกาสให้แก่เด็กทุกกลุ่ม         […]

webadmin

January 15, 2561

เรื่อง การสอนแบบมอนเตสซอรี่

การสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori Method) รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2541)               การสอนแบบมอนเตสซอรี่ เป็นการสอนรูปแบบหนึ่งที่เหมาะกับเด็ก ทั้งเด็กพิเศษ และเด็กปกติ Dr. Montessori เป็นผู้ริเริ่มจัดการเรียนการสอน สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Mentally Retarded Children) โดยใช้วิธีการคิดขึ้นเองจนประสบผลสำเร็จ และได้พัฒนาวิธีการสอนต่อมาจนสมบูรณ์แบบ เพื่อใช้เป็นวิธีสอนสำหรับเด็กโดยทั่วๆ ไป               Dr. Maria Montessori (1870-1952) เป็นผู้หญิงคนแรกของอิตาลีที่ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต เมื่อจบการศึกษาแล้วได้มีโอกาสทำงานกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ทำให้เกิดแนวคิดและเข้าใจถึงการเรียนรู้ของเด็กว่า ถ้าเด็กได้มีบางสิ่งบางอย่างที่จะจับต้อง และบิด-หมุนด้วยมือ สมองย่อมจะทำหน้าที่ตอบสนองได้ Dr. Montessori ได้ให้ความสนใจศึกษางานของ Edward Seguin ผู้ที่ริเริ่มในการพัฒนาระบบการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และงานของ Jean Itard […]

webadmin

January 15, 2561

เรื่อง การสอนเด็กปฐมวัยให้เข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน

การสอนเด็กปฐมวัยให้เข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2558) บทนำ               ปี พ.ศ. 2558 เป็นจุดเริ่มต้นที่ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ดังนั้น มีความจำเป็นที่ทุกคนในชาติ ในทุกระดับการศึกษา ต้องมีความรู้เกี่ยวกับความหมายของ คำว่า อาเซียน รู้จักเรื่องราวต่างๆ ของประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ของประชาคมอาเซียน ทั้งประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศเหล่านี้ ที่จะทำให้เข้าใจ เข้าถึงและร่วมมือกันทำงานร่วมกัน สรรสร้างวิถีทางในการพัฒนาประเทศในกลุ่มไปด้วยกัน การศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาคน ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ และมีเจตคติ เหมาะกับการเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียน               การศึกษาปฐมวัย เป็นการศึกษาระดับแรกที่จะช่วยในการตระเตรียมเด็กให้มีความรู้ความเข้าใจ มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับการเป็นเด็กไทยในประชาคมอาเซียน ซึ่งการจัดการศึกษาเพื่อสร้างพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่เด็กปฐมวัย สามารถจัดการได้หลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าสถานศึกษาจะมีปรัชญา หลักการ และแนวคิดใดเป็นหลักในการจัดการศึกษา ก็สามารถบูรณาการความรู้ใหม่นี้เข้าไปได้ในหลักสูตรมีการปรับปรุงเนื้อหาสาระ จัดหน่วยการเรียน และกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเหมาะสม การเตรียมความพร้อมทักษะต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ และดำรงชีวิตท่ามกลางความหลากหลายของวัฒนธรรมจากประเทศต่างๆ รวมถึง การที่จะสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามของไทยสู่ประเทศอื่น และเปิดรับสิ่งที่ดีงามของชาติอื่น […]

webadmin

January 15, 2561

เรื่อง การเป็นผู้นำทางการศึกษาปฐมวัย

การเป็นผู้นำทางการศึกษาปฐมวัย  รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2557)               การศึกษาปฐมวัย (early childhood education) เป็นการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย (early childhood) วัยตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 8 ปี ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่กำหนดโดยสมาคมแห่งชาติ เพื่อการศึกษาของเด็กปฐมวัย (The National Association for the Education of Young Children: NAEYC) ในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัย จะมีโปรแกรมทางการศึกษาปฐมวัย (early childhood programs) ที่จะจัดบริการให้แก่เด็กวัยดังกล่าวข้างต้น อาจจะเป็นการจัดบริการเป็นบางเวลา (part time) หรือเต็มเวลา (full time) ตามการกำหนดเวลาของแต่ละสถานศึกษา การให้บริการแก่เด็กปฐมวัย อาจจะออกมาในรูปแบบ สถานรับเลี้ยงเด็ก/ศูนย์ดูแลเด็ก/ศูนย์พัฒนาเด็ก (centers) เป็นการเลี้ยงดูเด็กในบ้าน (homes) หรือเป็นสถานศึกษาปฐมวัยในรูปแบบของโรงเรียน (Morrison, 2000) เมื่อมีการดำเนินการจัดการศึกษาปฐมวัย สิ่งที่ต้องตามมา คือ ผู้รับผิดชอบดูแลการดำเนินงานบริหารจัดการสถานที่แต่ละแห่งที่ให้บริการในการดูแล และให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย […]

webadmin

January 15, 2561
1 6 7 8