เรื่อง การจัดประสบการณ์แบบศูนย์การเรียน

การจัดประสบการณ์แบบศูนย์การเรียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวรรณ  เหมชะญาติ บทที่ 1 การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย การเรียนรู้เชิงบูรณาการผ่านการเล่น               ศูนย์การเรียนเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการอย่างเป็นธรรมชาติ เนื่องจากเด็กเรียนรู้เกี่ยวกับมโนทัศน์ต่างๆ ผ่านการเล่นที่หลากหลายอย่างกลมกลืนกับชีวิต การเล่นเป็นงานของเด็กและเด็กต้องการที่จะเล่น ในการเล่น เด็กได้พัฒนาทักษะการปัญหาโดยการลองทำ สิ่งต่างๆ ในวิธีการที่หลากหลาย พร้อมทั้งเฝ้าคอยค้นหาวิธีการที่ดีที่สุด ในการเล่น เด็กได้ใช้ภาษาสื่อสารการทำกิจกรรมของตน มีการขยายวงคำศัพท์และปรับเปลี่ยนแก้ไขการใช้ภาษาของตนขณะพูดอย่างอัตโนมัติ เช่นเดียวกับการเรียนรู้ที่จะฟังผู้อื่นพูด ขณะที่เล่น เด็กค่อยๆ เรียนรู้ถึงความแตกต่างของผู้คน บทบาท และทักษะในการดำเนินชีวิต ทั้งนี้ก็เพื่อให้เล่นด้วยกันได้อย่างมีความสุขและสนุกสนาน การเล่นจึงเปรียบ เสมือนอาหารหลักในการบำรุงพัฒนาการเด็กอย่างถ้วนทั่ว ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ดังนั้น การเล่นจึงเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นในการจัดโปรแกรมการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ               การจัดประสบการณ์แบบศูนย์การเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการเล่นในลักษณะที่บูรณาการองค์ความรู้ต่างๆ อย่างเป็นธรรมชาติ นั่นคือ เด็กได้พูดคุย ซักถาม หยอกล้อ และช่วยเหลือกันขณะทำกิจกรรมร้อยดอกรักบูชาพระ (ภาษา) […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง ประสบการณ์เทคโนโลยีสำหรับเด็กอนุบาล

ประสบการณ์เทคโนโลยีสำหรับเด็กอนุบาล  รองศาสตราจารย์ ดร.น้อมศรี  เคท ความสำคัญของการจัดประสบการณ์เทคโนโลยี               เทคโนโลยีในหลักสูตรจุฬาลักษณ์เป็นสาระที่สำคัญสำหรับครูในการนำไปจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กเป็นผู้ใฝ่รู้และรักการสืบสอบ ซึ่งหมายถึงเป็นผู้ที่มีลักษณะอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบซักถาม และอยากทดลองทำสิ่งต่างๆ ถ้าเด็กได้รับการส่งเสริมให้เป็นผู้ที่ใฝ่รู้และรักการสืบสอบ จะทำให้เมื่อเด็กเติบโตเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์และอาจคิดประดิษฐ์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม               การจัดประสบการณ์เทคโนโลยีให้แก่เด็กควรจัดควบคู่กันไปกับประสบการณ์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันและมีธรรมชาติที่คล้ายกัน การเรียนรู้หรือการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีต้องอาศัยคณิตศาสตร์ และใช้วิธีการสืบสอบ แต่เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ต่างกันคือ วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เทคโนโลยีคือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น อาจเป็นสิ่งของหรือวิธีการก็ได้ เพื่อทำให้มนุษย์สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น ช่วยในการแก้ปัญหา ทำให้การดำรงชีวิตมีความสะดวกสบาย  และมีคุณภาพดีขึ้น เทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์มีความสามารถมากขึ้น ในการควบคุมสิ่งแวดล้อมทั้งในส่วนที่เป็นธรรมชาติและส่วนที่มนุษย์สร้างขึ้น               ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ต้องอาศัยเทคโนโลยี และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา ทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ใช่เป็นเรื่องนามธรรมที่ยากเกินกว่าที่เด็กจะเรียนรู้ได้ ครูควรจัดประสบการณ์ให้เด็กสามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ โดยเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน และทำให้เด็กเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีผลต่อชีวิตมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ หลักในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง สุขภาพ ความปลอดภัย และทักษะกลไก

สุขภาพ ความปลอดภัย และทักษะกลไก สำหรับเด็กอนุบาล  รองศาสตราจารย์ ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์               การที่เด็กจะเจริญเติบโตไปอย่างมีสุขภาพที่แข็งแรงและสมบูรณ์ รู้คุณค่าของความสะอาด อาหาร การพักผ่อนและการดูแลตนเองให้อยู่รอดปลอดภัยได้ในชีวิตประจำวัน จำเป็นต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในเรื่องของสุขภาพและความปลอดภัย               สุขภาพและความปลอดภัย เป็นศาสตร์ที่จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ และสร้างลักษณะนิสัยที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพแห่งตน เริ่มตั้งแต่เด็กเข้ามาในโรงเรียน เด็กควรจะได้รับการพัฒนาแนวคิดพื้นฐาน ทัศนคติและทักษะเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัย โดยบูรณาการไปในกิจวัตรประจำวัน ที่เด็กต้องปฏิบัติในโรงเรียน ทั้งในเรื่องการเรียนการสอนและการดูแลที่ได้รับ               เป้าหมายสำคัญส่วนหนึ่งของการศึกษาปฐมวัย คือ การให้เด็กได้มี “กายดี จิตดี อยู่ดี มีสุข” ดังนั้นการให้เด็กได้มีรากฐานการปฏิบัติที่ถูกต้องในเรื่องของสุขภาพและความปลอดภัย จึงจำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่ระดับปฐมวัย โดยให้เด็กได้เรียนรู้ทั้งสาระความรู้และมีทักษะในการปฏิบัติ โดยมีทัศนคติที่ดี และแนวคิดที่ถูกต้องต่อการปฏิบัติให้เป็นนิสัย รู้จักคิด รู้จักเลือก รู้จักตัดสินใจ แก้ปัญหาได้เหมาะสมตามวัย […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง คุณธรรมและเจตคติสำหรับเด็กอนุบาล

คุณธรรมและเจตคติสำหรับเด็กอนุบาล รองศาสตราจารย์พูนสุข บุณย์สวัสดิ์               คุณธรรมเป็นพื้นฐานทางจิตใจและเจตคติ อันนำไปสู่การกระทำที่ดีและถูกต้อง คุณธรรมและเจตคติจะเป็นปัจจัยให้เด็กพร้อมที่จะเผชิญโลกได้อย่างมั่นคงและมีความสุข               การปลูกฝังคุณธรรมและเจตคติให้แก่เด็กตั้งแต่วัยเยาว์จะช่วยให้เด็กพัฒนาคุณธรรมและเจตคติขึ้นในตัวเองอย่างได้ผล ครูจึงต้องแสวงหากลยุทธ์ที่เหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็ก เพื่อปลูกฝังให้เด็กมีลักษณะนิสัย จริยธรรม คุณธรรม และเจตคติ ให้เกิดขึ้นในเด็กอย่างมีประสิทธิภาพที่ดีและเหมาะสม               สิ่งที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นแนวทางหนึ่งที่เป็นตัวอย่างได้ดีสำหรับการพัฒนาคุณธรรมและเจตคติให้แก่เด็กอนุบาล เป้าหมายและมาตรฐานการเรียนรู้               เป้าหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรจุฬาลักษณ์ มีดังนี้ เป้าหมายที่ 1  ปฏิบัติตนเป็นคนดี               มาตรฐานที่ 1  ยึดมั่นในคุณธรรม   […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง บริหารเวลาด้วยการขจัดปัญหาที่่ทำให้เสียเวลา

บริหารเวลาด้วยการขจัดปัญหาที่ทำให้เสียเวลา รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2542)               ในการทำงานของแต่ละบุคคลย่อมหนีไม่พ้นที่จะผจญกับปัญหา ทั้งปัญหาที่แก้ไขให้ลุล่วง ไปด้วยดี ปัญหาที่แก้ไขได้เป็นครั้งคราว ปัญหาที่สร้างความหงุดหงิดรำคาญใจตลอดเวลา แก้ไม่ได้ แต่จะดีจะร้ายแล้วแต่อารมณ์ของคนแวดล้อม แต่ถึงอย่างไรเมื่อมีปัญหาอะไรก็ตามเกิดขึ้นมา แล้วเข้ามารุกล้ำทำให้เราไม่สามารถทำงานในความรับผิดชอบให้สำเร็จไปได้ด้วยดี แถมทำให้เวลาที่เรามีไม่มากนักเสียไปอีก เราก็คงจะต้องหาทางที่จะแก้ปัญหานั้นๆ ให้ได้ หรือทุเลาเบาบางลงไป ไม่ว่าจะด้วยความคิดของเราเองหรือรวมกลุ่มกันในการคิดแก้ปัญหา              ปัญหาต่างๆ ต่อไปนี้จำนวน 9 ปัญหา เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในหน่วยงานต่างๆ แล้วแต่ว่าหน่วยงานไหนจะพบกับปัญหาอะไร และได้นำปัญหาเหล่านี้มาให้ลองวิเคราะห์และหาวิธีการในการแก้ปัญหา โดยผู้บังคับบัญชาระดับผู้จัดการแผนกหรือเทียบเท่าที่เข้ารับการอบรมเรื่องการบริหารเวลาในการทำงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จนถึงปี พ.ศ. 2542 จำนน 11 รุ่นๆ ละ 50 คน รวมทั้งสิ้น 550 คน โดยในแต่ละรุ่นได้แบ่งกลุ่มมีสมาชิก กลุ่มละ […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง การบริหารเวลา

การบริหารเวลา รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2542)               “เวลา คือ ชีวิต ถ้าเราใช้เวลาเป็น เราก็จะเป็นเจ้าชีวิตของเราเอง” ทุกคนคงยอมรับในคำกล่าวนี้ เนื่องจากเวลาผ่านเลยเราไปทุกวันไม่หวนกลับ สิ่งที่ไปพร้อมกับเวลา คือ ชีวิต เราจึงต้องศึกษาวิธีการในการควบคุมเวลาของเรา               การทำงานของคนเรามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักวิธีการในการจัดการกับเวลาของเราที่มีอยู่เท่ากันทุกคน คือวันละ 24 ชั่วโมง เราจะจัดเวลาที่เรามีอย่างไรจึงจะทำให้มีเวลาทำงานในความรับผิดชอบได้เต็มเวลาในช่วงเวลาทำงาน และทำอย่างไรเมื่อพ้นจากเวลาทำงานแล้วไม่ต้องหอบหิ้วงานกลับมาทำที่บ้านอีก แต่ว่ามีเวลาหาความสุข สำราญทำในสิ่งที่เราต้องการทำเพื่อตัวเราเองบ้าง               คงจะไม่ลำบากหรือยุ่งยากอะไร ถ้าเราคิดและตั้งใจจะจัดระบบเวลาให้แก่ตัวเองเพียงแต่ศึกษาเกี่ยวกับหลักการบริหารเวลา แล้วใช้ความพยายามในการปรับตัวเองบ่อยๆ ทำตามไปทีละเรื่องให้ได้ ในที่สุดเราก็จะประสบความสำเร็จในการบริหารเวลา เมื่อตนเองทำได้สำเร็จจะได้ค่อยๆ ขยับเข้าไปปรับคนที่อยู่รอบตัวไม่ว่าจะในที่ทำงานและที่บ้าน             […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง ใช้เวลา ใช้ชีวิตให้คุ้มค่าในมหาวิทยาลัย

ใช้เวลา ใช้ชีวิตให้คุ้มค่าในมหาวิทยาลัย รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2542) ขอต้อนรับน้องใหม่ทุกคนสู่รั้วจามจุรี               การก้าวเข้ามาสู่ระดับอุดมศึกษาเป็นการเรียนในมหาวิทยาลัย จะต่างจากการเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียน เมื่อเราอยู่ในโรงเรียนเรามีอาจารย์ประจำชั้นคอยดูแลให้คำแนะนำในการเรียน ดูแลความประพฤติ ใกล้ชิดให้ความเอาใจใส่แก่เราทุกเรื่อง เราต้องทำตามกรอบของโรงเรียนที่กำหนด มีอาจารย์ที่จะดูแลทุกข์สุขเอาใจใส่เยอะ และเราเองก็มีความรู้สึกอบอุ่นดีในบรรยากาศเช่นนั้น               ในมหาวิทยาลัย จะมีอาจารย์ที่ปรึกษา ดูแลการเลือกวิชาเรียน ให้คำแนะนำในการปฏิบัติทั่วๆ ไป มีการปฐมนิเทศนิสิตใหม่ให้เข้าใจในเรื่องต่างๆ ของภาควิชา คณะ และมหาวิทยาลัยในวงกว้างๆ ทั้งการเรียน การแต่งกาย การปฏิบัติตน และกิจกรรมต่างๆ ที่นิสิตควรรับทราบในฐานะ ผู้มาใหม่ การเข้าเรียน การแบ่งเวลาในการเรียน การเข้าร่วมกิจกรรม การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม การใช้เวลาว่างเป็นเรื่องที่เราต้องตัดสินใจเองทั้งหมด เวลาทั้งหมดเป็นของเรา เราต้องตัดสินใจให้ดี ในเรื่องของการใช้เวลา ถ้าเราจัดสรรเวลาไม่ได้ ไม่เป็น เราก็จะทำอะไรไม่ทัน ในที่สุดก็จะทำอะไรไม่สำเร็จ ถ้าเราจัดการกับเวลาได้ […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง การบริหารเวลา…ฉบับย่อ

การบริหารเวลา…ฉบับย่อ รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2539)               เมื่อมีความตั้งใจในการที่จะฝึกฝนตนเองในเรื่องการบริหารเวลา เพื่อทำงานให้ดี มีประสิทธิภาพ แต่มีเวลาน้อย จะทำอย่างไร การบริหารเวลา…ฉบับย่อ ช่วยให้แนวทางได้ บริหารเวลาด้วยวิธีการ ตั้งเป้าหมาย               กำหนดเป้าหมายของชีวิตและกำหนดเป้าหมายของการทำงาน รู้ความต้องการของตัวเองว่าชีวิตนี้ต้องการอะไร กำหนดกิจกรรม ขั้นตอนและเวลาเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น               เป้าหมายของการทำงานจะต้องมี เพื่อจะได้รู้ว่า แต่ละปี แต่ละเดือน แต่ละสัปดาห์ แต่ละวัน ทำงานไปเพื่ออะไร               การมีเป้าหมาย จะทำให้เดินไปถูกทิศถูกทาง แล้วก็ใช้เวลาเดินทางสั้นกว่าการเดินไปอย่างไร้จุดหมาย วางแผน     […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง การศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอนฯ

การศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอน ตามแนวคิดวอลดอร์ฟ ในสหพันธรัฐเยอรมัน  รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2556)               สถานที่ไปศึกษาดูงานตามแนวคิดของวอลดอร์ฟ คือ โรงเรียนวอลดอร์ฟที่เมือง Hildesheim ซึ่งตั้งอยู่ตอนเหนือของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีชั้นเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลศึกษาถึงชั้นปี่ที่ 13 โดยแยกสถานที่ตั้งของโรงเรียนเป็น 2 แห่ ง คือ               1.   Waldorf Kindergarten รับเด็กอายุโดยประมาณ 2 – 6 ขวบ เข้าเรียนและมีเด็กวัยต่ำกว่า 2 ขวบ เข้ามาเป็นบางวันพร้อมผู้ปกครอง               2.   Freie Waldorfschule Hildesheim รับเด็กต่อมาจากระดับอนุบาลศึกษาและรับนักเรียนเข้าเรียนใหม่ มีการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นปีที่ […]

webadmin

January 25, 2561

เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์ : รวมพลังรังสรรค์ให้แก่เด็ก รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2549) คำนำ               จุดมุ่งหมายหลักของการศึกษา คือ การสร้างคนที่สามารถทำอะไรที่เป็นสิ่งใหม่ได้ ไม่เพียงแต่ทำอะไรซ้ำๆ กับที่คนอื่นได้ทำต่อๆ กันมา เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นนักประดิษฐ์คิดค้น จุดมุ่งหมายที่สองของการศึกษา คือ การสร้างจิตที่สามารถคิดวิจารณญาณ สามารถตรวจสอบสิ่งต่างๆ และไม่ยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่คนอื่นนำมายื่นให้  (Piaget อ้างถึงใน Fisher, 1992 : 29)               การศึกษาเรื่องความคิดสร้างสรรค์ จะมีเรื่องชวนคิดชวนสงสัยหลายอย่างเกิดขึ้น และก็มีแนวคิดของนักการศึกษา นักจิตวิทยา ที่มองในเรื่องนี้เหมือนและต่างกันไปว่า ความคิดสร้างสรรค์  มาจากไหน อะไรคือความคิดสร้างสรรค์ อะไรคือไม่ใช่ อะไรคือความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ ความเหมือน ความแตกต่าง หรือเหมือนกันหรือไม่ในระหว่างความคิดสร้างสรรค์กับความสามารถพิเศษ (talented) กับพรสวรรค์ (gifted) […]

webadmin

January 25, 2561
1 5 6 7 8