ผลจากระบบการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

การวิจัยเรื่อง ผลจากระบบการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลจากระบบการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อตัวเด็ก ครอบครัว และโรงเรียนอนุบาล และ 2) ศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการคัดเลือกเด็กเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประชากร ประกอบด้วย เด็ก ผู้ปกครอง ครูอนุบาล ผู้บริหารโรงเรียน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้ง 4 สังกัด ได้แก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัย และสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานครนักการศึกษาปฐมวัย และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็ก ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย เด็ก ผู้ปกครอง ครูอนุบาล ผู้บริหารโรงเรียน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้ง 4 สังกัด ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน นักการศึกษาปฐมวัย และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็ก ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยมีจำนวน ดังนี้ เด็กที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 หรือ 3 และมีความประสงค์จะสอบเข้าศึกษาต่อระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน […]

webadmin

November 9, 2561

เรื่อง การสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กอนุบาลเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษา: สภาพและปัญหาของครู

เรียบเรียงโดย รศ.ดร.จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ และนางสาวจิตโสภิณ โสหา (ตุลาคม 2561) การพัฒนาเด็กปฐมวัยของประเทศไทยในปัจจุบัน เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการจัดการศึกษาปฐมวัยของผู้ปกครอง ครูและผู้บริหารสถานศึกษาทำให้เกิดปัญหาการเร่งเรียนอ่านเขียนเกินพัฒนาการเด็ก ผู้ปกครองขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการที่สำคัญตามช่วงวัยของเด็ก จึงมีความคาดหวังว่าเด็กอนุบาลต้องอ่านเขียนเป็นและบวกลบเลขได้ ส่งผลให้ส่งเสริมลูกแบบเร่งเรียนเขียนอ่านเพื่อเตรียมสอบเข้าโรงเรียนประถมศึกษา และการขาดความเข้าใจของครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก จึงมุ่งเน้นให้เด็กเรียนอ่านเขียนเกินวัย และเน้นการสอนให้เด็กท่องจำเนื้อหาสาระมากกว่าการฝึกทักษะ กระบวนการ ผู้บริหารสถานศึกษาขาดความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กในแต่ละช่วงวัย รวมถึงการวัดผลด้วยการทดสอบความรู้ด้านเนื้อหาสาระ และนำผลคะแนนมาใช้ในการจัดอันดับเพื่อประเมินเด็ก อีกทั้งยังมีการจัดสอบวัดความรู้ระดับชาติตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3จึงส่งผลให้โรงเรียนและผู้ปกครองเร่งให้เด็กอ่านออกเขียนได้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อเตรียมเด็กให้พร้อมสำหรับการทดสอบและการสอบแข่งขันต่างๆ ทำให้ระบบการเรียนการสอนเด็กในระดับอนุบาลและประถมศึกษาตอนต้น มุ่งเน้นการท่องจำความรู้เพื่อให้เด็กสามารถอ่านเขียนและคิดคำนวณได้ ซึ่งเป็นการส่งเสริมพัฒนาการที่เน้นเฉพาะด้านเนื้อหาสาระ โดยขาดการพัฒนาด้านทักษะ กระบวนการ ได้แก่ การคิดแก้ปัญหา การตัดสินใจ การให้เหตุผล การคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการไม่ให้เวลากับการพัฒนาด้านคุณธรรมและคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้และการดำเนินชีวิต ส่งผลให้เด็กขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ขาดทักษะในการทำงานร่วมกับคนอื่น และขาดทักษะความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เป็นการเสียโอกาสที่มีอยู่อย่างจำกัดในการสร้างทักษะด้านพฤติกรรม ซึ่งจะส่งผลต่อคุณลักษณะ ความสำเร็จด้านการศึกษาและการทำงานในอนาคตของเด็ก (สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน, 2558) การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยเป็นการจัดการศึกษาที่มีความสำคัญอันเป็นพื้นฐานของการศึกษาในระดับสูงต่อไป เนื่องจากเด็กในช่วงปฐมวัยนั้นมีการพัฒนาด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว จึงเป็นช่วงวัยที่ควรส่งเสริมพัฒนาการอย่างเต็มที่ การแบ่งช่วงอายุของเด็กปฐมวัยที่มีความแตกต่างกัน อาจทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องหรือมีช่องว่างในระหว่างที่เด็กได้รับประสบการณ์ในระดับอนุบาลและก้าวไปสู่ระดับชั้นประถมศึกษา งานวิจัยในต่างประเทศที่แสดงให้เห็นถึงปัญหา ความแตกต่างระหว่างการศึกษาปฐมวัยกับประถมศึกษา Einarsdottir (2003) ได้ทำการวิจัย พบว่า […]

webadmin

October 31, 2561

เรื่อง รอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา : บทบาทของผู้ปกครอง

เรียบเรียงโดย รศ.ดร.จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ และนางสาวพัชรัตน์ ลออปักษา                                                                (ตุลาคม 2561) บทความฉบับนี้เป็นการเรียบเรียงข้อมูลในส่วนที่จะให้ข้อคิดเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติของผู้ปกครองในช่วงรอยเชื่อมต่อจากระดับชั้นอนุบาลไปสู่ระดับชั้นประถมศึกษา จากงานวิจัย เรื่อง บทบาทของผู้ปกครองในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา ของ พัชรัตน์ ลออปักษา (2561) ที่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่า รอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถมศึกษา หมายถึง ช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา ซึ่งมีการจัดการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันตามระบบการศึกษา ทำให้เด็กต้องปรับตัวกับการเรียน และสภาพแวดล้อมใหม่ รอยเชื่อมต่อทางการศึกษาในทุกช่วง เป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็ก เพราะเด็กจะต้องพบกับความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะจากบ้านไปสถานที่ต่างๆ หรือจากบ้านไปสู่สถานรับเลี้ยงเด็ก จากโรงเรียนอนุบาลไปสู่โรงเรียนประถมศึกษา พ่อแม่เป็นบุคคลกลุ่มแรกที่จะต้องเข้าใจและเตรียมพร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงด้วยการช่วยเหลือ ดูแลและประคับประคองให้เด็กผ่านช่วงเวลาสำคัญนี้ไปให้ได้ เด็กจะพบกับบุคคลที่ไม่รู้จัก สถานที่ที่ไม่คุ้นเคย ต้องไปอยู่ร่วมกับเด็กอื่นที่มาจากหลากหลายบริบท ซึ่งพ่อแม่หรือผู้ปกครองเองก็จะพบกับสิ่งใหม่เช่นเดียวกันกับเด็ก ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของพ่อแม่ผู้ปกครองและเด็กคงจะต้องสอดคล้องประสานกัน เพื่อช่วยนำความสุข และความสำเร็จไปสู่เด็ก แนวทางปฏิบัติของผู้ปกครองในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา พัชรัตน์ ลออปักษา (2561 : 42 – 67) ได้ศึกษาแนวทางปฏิบัติของผู้ปกครองจากเอกสารทางวิชาการต่างๆ นำเสนอไว้ในงานวิจัยดังนี้ Peters (2010) ได้สรุปแนวทางสำหรับผู้ปกครองในการสนับสนุนรอยเชื่อมต่อประกอบด้วย (1) การให้การศึกษาที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (2) […]

webadmin

October 10, 2561

เรื่อง รอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากอนุบาลศึกษาถึงประถมศึกษา

เรียบเรียงโดย รองศาสตราจารย์ ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์ และนางสาวกมลทิพย์ นิ้มคธาวุธ (กันยายน, 2561) รอยเชื่อมต่อทางการศึกษา เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผ่านจากระดับชั้นเรียนหนึ่งไปยังระดับชั้นเรียนอีกระดับหนึ่ง ที่มีธรรมชาติและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลโดยตรงกับเด็กในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ใหม่ และอาจทำให้เด็กเกิดความกังวลใจ (กมลทิพย์  นิ้มคธาวุธ, 2561 สรุปความหมายจาก Dunlop and Fabian (2002), Department of Education and Early Childhood Development (2009), สุจิตรพร  สีฝั้น (2550) และยศวีร์  สายฟ้า (2557)) การเปลี่ยนแปลงจากระดับชั้นอนุบาลและระดับชั้นประถมศึกษาเป็นช่วงเวลาที่สำคัญกับชีวิตของเด็ก เนื่องจากเป็นการเริ่มต้นการศึกษาภาคบังคับ เด็กที่กำลังเข้าสู่โรงเรียน (อายุระหว่าง 5-7 ปี) ยังปรับตัวได้ไม่ดีนัก และต้องเผชิญกับรูปแบบและลักษณะการเรียนรู้ที่เป็นทางการมากขึ้น เด็กที่เพิ่งเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กในระยะยาว การมีรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของช่วงที่สำคัญดังกล่าวนี้จะส่งผลให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการทำงานในอนาคต (กมลทิพย์  นิ้มคธาวุธ, 2561) แนวทางในการเชื่อมต่อการศึกษาระหว่างชั้นอนุบาลศึกษาและประถมศึกษา ข้อมูลจากงานวิจัยของ กมลทิพย์  นิ้มคธาวุธ เรื่อง […]

webadmin

September 21, 2561

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน จังหวัด มหาสารคาม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน ระหว่างวันที่ 12-14 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมตักศิลา จังหวัด มหาสารคาม [Best_Wordpress_Gallery id=”2″ gal_title=”Gallery-post1″]

webadmin

March 10, 2561

เรื่อง แนวทางการจัดชั้นเรียนเพื่อเด็กปฐมวัย

แนวทางการจัดการชั้นเรียนเพื่อเด็กปฐมวัย : มุมมองสำหรับนำไปปฏิบัติ  รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2548)               การทำงานกับเด็กปฐมวัยได้ประสบความสำเร็จ ครูจะต้องมีความสามารถในการจัดห้องเรียนและการจัดการชั้นเรียนสำหรับเด็กเพราะการจัดการชั้นเรียนมีผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมของเด็กที่จะแสดงออกมาเมื่ออยู่หรือทำงานร่วมกับเพื่อน               สิ่งที่ครูพบว่า เป็นปัญหาที่หนักใจและสร้างความคับข้องใจให้มากเรื่องหนึ่ง คือ ทำอย่างไรจะสามารถจัดการชั้นเรียนของตนเองได้ ทำอย่างไรจะทำให้เด็กรู้จักควบคุมตนเอง รู้ว่าเมื่อไรจะต้องทำอะไร รู้จักกาลเทศะ เคารพกติกาข้อตกลง ร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งในส่วนที่เด็กคิด เด็กและครูร่วมกันคิด หรือบุคคลอื่นๆ คิดเสนอขึ้นมา นั่นคือทำอย่างไรเด็กจึงจะมีวินัย โดยเฉพาะวินัยในตนเอง ควบคุมตนเองได้ ถ้าเด็กในห้องเรียนที่ครูรับผิดชอบอยู่ ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่เหมาะสม มีวินัย ครูทุกคนก็คงจะมีความสุข การจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนก็คงจะดำเนินไปได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องพะวงกับการต้องคอยตักเตือนสลับกับกิจกรรมตลอดเวลาซึ่งจะเป็นการขัดจังหวะการทำกิจกรรม ขาดความต่อเนื่องในกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่และดูจะสร้างความรำคาญให้เด็กในชั้นเรียนรวมทั้งครูเองด้วย               Kauchak และ Eggen (1998) ได้พูดถึงความคับข้องใจในการจัดการชั้นเรียนจะเกิดขึ้นกับนิสิตนักศึกษาฝึกสอน ครูที่ทำงานเป็นปีแรกและบางครั้งบางคราวก็เกิดได้กับครูที่มีประสบการณ์สอนมานานได้เช่นเดียวกันสิ่งที่สร้างความกังวลให้แก่คนกลุ่มนี้มากที่สุด คือ ไม่แน่ใจในความสามารถของตนเองในการจัดการกับนักเรียน การระวังไม่ให้เกิดการรบกวนกันและการดูแลให้สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้เป็นไปอย่างราบรื่น การจัดการชั้นเรียนถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ได้รับความเอาใจใส่จากทั้งบุคลากรระดับนโยบายของโรงเรียนและทุกคนที่เกี่ยวข้อง โดยถือว่าเป็นปัญหาอันดับแรกของโรงเรียน (Elam and Rose,1995 อ้างถึงใน Kauchak and Eggen, 1998) การไม่มีระเบียบและพฤติกรรมรบกวนของนักเรียนเป็นสาเหตุสำคัญที่สร้างความเครียดให้แก่ครูและเป็นต้นเหตุทำให้ครูลาออก […]

webadmin

March 1, 2561

Collaborative Learning Development based on Professional Learning Community and Lesson Study Approach for Novice Teachers of Plearnpattana Secondary School

Phurithat Chaiwattanakun, Thitamon Sansri, Tanaporn Srisiripan, Weena Wongwaiwit Plearnpattana School The aim of this paper is to investigate an effective development process carried out for 22 novice teachers at Plearnpattana Secondary School in Thailand. The collaboration and relationship between teachers and students play an important role in the development of professional learning community and the use […]

webadmin

February 12, 2561

Development of Participatory Administration Model based on Lesson Study Approach through Professional Learning Community Enhance Lifelong Learning Management, Ban Bangneaw Municipal School

Wisa Jarunchawanapet Research’s Objectives: 1) To study the fundamental information and the need for development of the Development of Participatory Administration Model based on Lesson Study Approach through Professional Learning Community Enhance Lifelong Learning Management, 2) To develop the Participatory Administration Model based on Lesson Study Approach through Professional Learning Community Enhance Lifelong Learning Management […]

webadmin

February 12, 2561
1 3 4 5 8