เรื่อง การจัดการศึกษาและการจัดการเรียนฯ

การจัดการศึกษา และการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาในสหรัฐอเมริกา

รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (พ.ศ. 2540)

              สหรัฐอเมริกา ไม่มีระบบการศึกษาของชาติ การศึกษาของประชาชนดำเนินการอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐและท้องถิ่น
บทบาทของรัฐบาลกลาง (The Federal Role)
             
สำหรับรัฐบาลกลางจะให้การสนับสนุนและเข้าไปกระตุ้นได้เฉพาะที่กำหนดเอาไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น การบริหารของรัฐบาลกลาง ทั้งทางด้านตุลาการ นิติบัญญัติ และบริหารมีผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อการจัดการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ดังนี้
              1.   ข้อกำหนดถึงอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลกลางตามรัฐธรรมนูญ
                     
รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ไม่มีการกล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลกลางทางด้านการศึกษา แต่มีบางมาตราตีความได้ในส่วนที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับโรงเรียน เช่น Article 1 Section 8 ได้กล่าวไว้ว่า เป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะกำหนดและเก็บภาษีต่างๆ นำไปใช้ในการชำระหนี้และจัดสรรสำหรับการป้องกันประเทศและสวัสดิภาพทั่วๆ ไปในสหรัฐอเมริกา
                     หน้าที่ของรัฐบาลกลางในการที่จะจัดสรรเงินให้กับการศึกษา อยู่ในส่วนของสวัสดิการทั่วไป (general welfare)
              2.   The Federal Judiciary
                     
ศาลสูงของสหรัฐอเมริกาไม่ได้มีหน้าที่โดยตรงในการวางนโยบายทางการศึกษา จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับหลักการที่การศึกษาเป็นหน้าที่ของรัฐ แต่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการศึกษาเพียงเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การตัดสินใจทางการศึกษาในระดับของรัฐไม่เข้าไปละเมิดรัฐธรรมนูญในส่วนใดๆ
                     Knezevich อธิบายว่า รัฐบาลกลางจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการศึกษา 6 ด้านด้วยกัน ตามลำดับก่อน-หลัง
                     (1)   จัดสรรที่ดินสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
                     (2)   จัดสรรที่ดินสำหรับระดับอุดมศึกษา
                     (3)   จัดสรรที่ดินสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาตามจุดมุ่งหมายเฉพาะ
                     (4)   ให้ความช่วยเหลือในกรณีที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นโดยบังเอิญ เพื่อผ่อนคลายสถานการณ์ เช่น เศรษฐกิจตกต่ำ สงคราม ฯลฯ
                     (5)   The National Defense Education Act.
                     (6)   The Elementary and Secondary Education Act. เพื่อความช่วยเหลืออื่นๆ ทางการศึกษา
              3.   The Role of the Executive Branch
                     
หน้าที่ของรัฐบาลกลางเกี่ยวข้องกับการลงทุนทางการศึกษา ศูนย์กลางอยู่ที่ The Department of Health, Education and Welfare (DHEW) secretary ของ DHEW จะอยู่ในคณะรัฐมนตรีของประธานาธิบดีและมีผู้ช่วย 2 คน เพื่อดูแลการศึกษา 2 ส่วน คือ The United States Office of Education (USOE หรือ OE) หน่วยที่ดูแลคือ The United States Commissioner of Education และ The National Institute of Education (NIE) มีหัวหน้าคือ ผู้อำนวยการ (director)
                     The United States office of Education
                     USOE เป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้น เพื่อปรับปรุงคุณภาพและความเท่าเทียมกัน  ของการศึกษาในสหรัฐอเมริกา มีหน้าที่บริหารโปรแกรมต่างๆ ของรัฐบาลกลาง (federal programs) ซึ่งได้มีการดำเนินงานโดยหน่วยงานการศึกษาของรัฐ หน่วยงานการศึกษาของท้องถิ่น วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย รวบรวมและแจกจ่ายข่าวสารเกี่ยวกับการศึกษาที่มีจัดอยู่ทั่วไปในประเทศ
                    จุดมุ่งหมายของหน่วยงาน
                     (1)   เพื่อให้แต่ละบุคคลหรือกลุ่มคน ได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นคนที่ด้อยโอกาสเพราะเศรษฐกิจ เชื้อชาติ สภาพทางภูมิศาสตร์ หรือมีความผิดปกติทางด้านร่างกายหรือจิตใจ
                     (2)   ปรับปรุงคุณภาพและจัดการศึกษาของสหรัฐอเมริกาตรงกับความต้องการ โดยผ่านทางการวิจัย การพัฒนา ทดลอง การสาธิต การแจกจ่ายและฝึกอบรม
                     (3)   จัดความช่วยเหลือในด้านการเงินและเทคนิค โดยผ่านห้องสมุด หน่วยการศึกษาของรัฐและท้องถิ่น พัฒนาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย การศึกษาผู้ใหญ่ และโปรแกรมการศึกษาด้านอาชีพ

บทบาทของหน่วยงานการศึกษาท้องถิ่น (The Local Educational Agency)
              หน่วยงานการศึกษาท้องถิ่น เป็นหน่วยงานบริหารพื้นฐานในการจัดการศึกษาของรัฐ เรียกว่า “Local school district” หรือ “Local school system” บริหารงานโดยคณะกรรมการการศึกษาท้องถิ่น (local board of education) ดำเนินการต่างๆ ตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมาจากรัฐ การศึกษาท้องถิ่นบริหารโดยศึกษาธิการและคณะ
              นอกจากนี้ยังมี school board เกิดขึ้นโดยกฎหมายของรัฐและมีอำนาจตามกฎหมาย ที่จะดูแลกิจการของ local school district ทำหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดเอาไว้ในกฎหมายของรัฐ
              หน้าที่ของ school board คือ วางนโยบายและตัดสินใจรับบุคลากรและพัฒนาบุคลากร พัฒนาโปรแกรมต่างๆ ดูแลและสนับสนุนทางการเงินให้แก่โปรแกรมทางการศึกษา กำหนดบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และสัมพันธ์กับสมาชิกของชุมชน
              School board member จะทำงานโดยเฉลี่ยประมาณ 5 ปี ส่วนใหญ่ 87% จากการสำรวจพบว่า สมาชิกจะเป็นผู้ชาย ชนชั้นกลาง มีความรู้ระดับวิทยาลัยทางด้านการศึกษา

รูปแบบการจัดระบบโรงเรียนแบบประเพณีนิยม (Traditional Organizational Patterns)
              
การจัดกลุ่มนักเรียนตามแนวตั้ง มีแผนการจัดดังนี้

(1) 6 – 6              คือ       ประถมศึกษา 6 ปี
                                 มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย  6 ปี
 (2)  7 – 5             คือ       ประถมศึกษา  7 ปี
                                 มัธยมศึกษา  6 ปี
แผนนี้ใช้บางรัฐ ในทางตะวันออกหรือตะวันตก
(3) 6 – 3 – 3        คือ      ประถมศึกษา 6 ปี
                                มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี
                                มัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี
แผนนี้ใช้กันแพร่หลาย
(4) 6 – 2 – 4        คือ      ประถมศึกษา 6 ปี
                                มัธยมศึกษาตอนต้น 2 ปี
                                มัธยมศึกษาตอนปลาย 4 ปี
(5) 5 – 3 – 4        คือ      ประถมศึกษา 5 ปี
                                มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี
                                มัธยมศึกษาตอนปลาย 4 ปี
(6) 3 – 3 – 3 – 3  คือ     เป็นลักษณะเฉพาะจัดแยกกลุ่มเป็นช่วงๆ
                                อนุบาล/เกรด 1 – 3, เกรด 4 – 6, เกรด 7 – 9,
                                เกรด 10 -12
แผนนี้ใช้กันมากโดยทั่วไป สำหรับการสอนแบบไม่มีระดับชั้น
(7) 4 – 4 – 4        คือ      อนุบาล/ประถมศึกษา 4 ปี
                                 มัธยมศึกษาตอนต้น 4 ปี
                                 มัธยมศึกษาตอนปลาย 4 ปี
(8) 8 – 4              คือ      ประถมศึกษา 8 ปี
มัธยมศึกษา 4 ปี
หมายเหตุ : 6 – 3 – 3                   แผนนี้จะใช้กันมากในเมืองใหญ่ๆ เขตใหญ่ๆ
8 – 4 และ 6 – 6         จะใช้กันมากในเมืองเล็ก


บรรณานุกรม
              
Landers, T.J. and Myers, J.G., Essentials of School Management, Philadelphia : W.B. Saunders Company, 1977.
              Ragan, W.B. and Shepherd, G.D., Modern Elementary Curriculum, New York : Holt, Rinehart and Winston, 1977.

ตัวอย่าง
การศึกษาดูงานโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐในมลรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1984)

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโรงเรียนประถมศึกษา
              
1.   การเข้าเรียน
                    (1) นักเรียนอยู่ในเขตการศึกษาใด ก็เข้าเรียนในโรงเรียนของเขตการศึกษานั้น
                    (2) จัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน ไม่ว่าชาติภาษาใดที่อยู่ในประเทศ
                    (3) อายุถึงเกณฑ์ แจ้งให้เขตการศึกษาท้องถิ่นทราบ รับจดหมายแล้วไปเข้าเรียนของโรงเรียนที่กำหนด ดูจากบ้านเลขที่แล้วก็จะทราบว่าต้องเรียนที่โรงเรียนใด
                    (4) นักเรียนเข้าเรียนโดยไม่ต้องมีการสอบเข้า
              2.   การเดินทางไป-กลับโรงเรียน
                    มีรถรับ-ส่งนักเรียน ยกเว้น ผู้ที่บ้านอยู่ห่างจากโรงเรียนในระยะทางภายใน 1 ไมล์ ต้องไปโรงเรียนเอง
              3.   ค่าเล่าเรียน
                    (1) เรียนฟรี ไม่มีการเสียค่าเล่าเรียน
                    (2) รัฐจัดให้ทั้งหนังสือเรียนและแบบฝึกหัด ยกเว้น ใครทำหายต้องซื้อใหม่เอง
              4.   อาหาร
                    (1) นักเรียนนำอาหารกลางวันมารับประทานเอง หรือซื้อจากทางโรงอาหารของโรงเรียน
                    (2) เด็กที่มีฐานะยากจนจะมีบริการอาหารฟรีให้ในช่วงเช้า-กลางวัน หรือได้ลดราคา
                    (3) Lunch Menu แจกให้จาก DISD (Denton Independent School District) รายการอาหารและราคาเหมือนกันทั้งหมด
              5.   การปฏิบัติทางศาสนา
                    
ไม่มีการทำกิจกรรมทางศาสนาในโรงเรียน เพราะนักเรียนในสหรัฐอเมริกามีความเชื่อทางศาสนาไม่เหมือนกัน
              6.   กิจวัตรประจำวัน

7.45 น. รถโรงเรียนรับนักเรียนมาถึงโรงเรียน
มีนักเรียนลงรถ เข้าแถว เดินเข้าไปยังที่ประชุมรวม (ที่ประชุมรวม ใช้อเนกประสงค์ ทั้งเล่นกีฬา รับประทานอาหาร ชมการแสดง การประชุม ฯลฯ)
ครูจัดนักเรียนนั่ง โดยให้นักเรียนอายุ 5 – 8 ปี นั่งบนเวที ส่วนอายุ 9 – 12 ปี นั่งบนเก้าอี้
การจัดที่นั่งกระจายออกไป เพื่อป้องกันการมีเรื่องสืบเนื่องมาจากบนรถ
8.10 น. นักเรียนเดินไปห้องเรียน มีการเรียกชื่อ สั่งอาหารกลางวัน
8.25 น. นักเรียนกล่าวคำมั่นสัญญาต่อหน้าธง เหมือนกับการเคารพธงชาติด้วยการนำมือซ้ายวางพาดตรงเหนืออกเฉียงมาตรงไหล่ขวา และกล่าวข้อความ ไม่มีการสวดมนต์
พักรับประทานอาหารกลางวัน สลับกันชั้นเรียนละ 20 นาที เช่น เกรด 5 พัก 11.57 – 12.17 น.
พัก 4 ครั้ง ตอนเช้า 2 ครั้งๆ ละ 10 นาที เป็นพักธรรมดาและพักเข้าห้องน้ำ
พักบ่าย 2 ครั้งๆ ละ 10 – 15 นาที
เวลาพัก ไปเล่นที่สนามเด็กเล่น
14.45 น เลิกเรียน นักเรียนขึ้นรถโรงเรียนกลับบ้าน บางคนขี่จักรยานผู้ปกครองมารับ

              7.   การจัดนักเรียนเข้าชั้นเรียน
                    การจัดนักเรียนแตกต่างกันไปตามแนวปรัชญาการศึกษาของแต่ละแห่ง ตัวอย่าง การจัดนักเรียนที่ Sam Houston Elementary School คือ จัดชั้นเรียนด้วยวิธีการสุ่ม (random selection)
                    นักเรียนที่เลื่อนชั้นจะจัดเป็น 2 กลุ่ม ชายและหญิง และเลือกให้เลื่อนชั้นต่อไปไม่มีการพิจารณาอะไรเป็นพิเศษ ในแต่ละห้องจะมีทั้งเด็กที่มีพรสวรรค์ (gifted) เด็กปกติ และเด็กที่มีความบกพร่อง (disable) เป็นสมาชิกในห้องเรียน
                    การจัดกลุ่มตามความสามารถ (ability) จะไปในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (Junior High) ในห้องเรียนจะมีหัวหน้าชั้น หัวหน้ากลุ่ม และกรรมการต่างๆ ของห้อง (helpers)
              8.   หลักสูตร
                    หลักสูตรจะแตกต่างกันไปตามเขตการศึกษา โดยเขตการศึกษาจะให้แนวทางครูสอนโดยยึดจุดมุ่งหมายของแต่ละเกรดเป็นหลัก วิชาที่เรียนจะยืดหยุ่น
                    ครูจะได้รับคู่มือหลักสูตร (curriculum guide) เพื่อเป็นแนวทางในการสอนซึ่งแจกโดย school district คู่มือหลักสูตร พัฒนาโดย Assistant Superintendent for Instruction ในคู่มือหลักสูตรจะมีจุดมุ่งหมายของแต่ละระดับชั้น ซึ่งจุดมุ่งหมายเหล่านี้มาจากจุดมุ่งหมายของรัฐ และมีรายละเอียดเกี่ยวกับ
                    1.   Allocation of Instructional time;
                    2.   Recommended Time Allocation (minutes), special programs and activities, The Mizar; และ
                    3.   Objectives on each area
                   จุดมุ่งหมายเน้นทัศนคติ นิสัยในการทำงาน พัฒนาหลักการทางสังคม-อารมณ์ เนื้อหาที่กำหนด Reading, Language arts, Study skills, Mathematics, Science, Social studies, Health, Physical education และ Art
                    มีข้อตกลงของเขตว่าสอน Science ใน Spring และ Health ใน Fall เพื่อประโยชน์ในการ transfer เด็ก เวลาที่เหลือครูมีอิสระในการเลือกว่าจะสอนอะไร โดยขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย จัดการเรียนการสอนให้บรรลุเป้าหมายได้ในตอนสิ้นปีการศึกษา
              9.   การจัดตารางเวลา (Allocation of Instructional Time)
                    โปรแกรมการเรียนพื้นฐานระดับประถมศึกษา เน้นวิชาที่อยู่ในลำดับความสำคัญมาก คือ การอ่าน ภาษา และคณิตศาสตร์ จะต้องมีการจัดการสอนพัฒนาทักษะในพื้นฐานทั่วไป
                    การจัดตารางเวลาต่อไปนี้ ถือว่าเป็นเวลาน้อยที่สุดสำหรับทุกโรงเรียน
                    (1)   Primary level (เกรด 1 – 3)
                           ศิลป์ภาษา         2 ชั่วโมง อย่างน้อย 1 ½ ชั่วโมง โดยไม่มีการจัดตารางแยกต่อเนื่องไปเลย
                           คณิตศาสตร์      40 นาทีต่อเนื่อง
                           เด็กในระดับประถมศึกษาระยะเวลาความสนใจมีช่วงสั้น การให้พักในระหว่างเวลาสอนจำเป็น
                    (2)   Elementary level (เกรด 4 – 6)
                           ศิลป์ภาษา         1 ชั่วโมง 20 นาที อย่างน้อย 1 ชั่วโมง 15 นาทีต่อเนื่อง
                           คณิตศาสตร์      45 นาทีต่อเนื่อง
                           Texas Education Agency ได้กำหนดโปรแกรมพื้นฐานที่จะต้องสอนทุกวัน คือ ศิลป์ภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และพลศึกษา และวิชาที่ต้องสอนทุกสัปดาห์ คือ ดนตรีและศิลปะ
                           ศิลป์ภาษา รวมถึงการอ่าน การเขียน การแต่งเรื่อง การพูดและทักษะห้องสมุด Health บูรณาการในการสอนวิทยาศาสตร์ (science) Physical education รวมถึงพลศึกษาและกิจกรรมอื่นๆ
                           การจัดสมดุลของหลักสูตร เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของครูใหญ่และครู
                           การจัดตารางเวลาในการสอนแตกต่างกันไป แต่จะมีข้อแนะนำในการจัดตารางเวลาและกำหนดเวลาที่บังคับสำหรับทุกโรงเรียน

                                                                 ตัวอย่าง  ตารางสอนของเกรด 5
                                                                      Schedule Fifth Grade

a.m. 08 : 15 – 08 : 45 Room Business (pledge, attendance etc.)
Silent Reading Time
08 : 45 – 09 : 15 PE (MWF), Music (Th), Art (Tu)
09 : 15 – 09 : 25 Restroom Break
09 : 25 – 10 : 20 Math (Except Th-Library 09 : 30 – 10 : 30 and reading)
10 : 20 – 10 : 30 Short Break
10 : 35 – 11 : 55 Language and Reading
11 : 57 – 12 : 17 Language and Reading
p.m. 12 : 20 – 01 : 00 Spelling
01 : 00 – 01 : 15 Break
01 : 15 – 01 : 25 Restroom Break
01 : 25 – 01 : 55 Health/Science
01 : 55 – 02 : 30 Social studies
02 : 30 – 02 : 40 Clean up etc.. to go home
02 : 45 Dismissal
02 : 45 – 03 : 00 Planning/Conference Period


              10.  การประเมินผล
             
        (1)   จากการทำแบบฝึกหัด
                     (2)   จากการทดสอบ
                     (3)   เลื่อนชั้น โดยการประเมินผลและการพิจารณาของครูประจำชั้นและครูทุกวิชาที่ได้พิจารณาเด็กมาแล้วตลอดทั้งปี
                     (4)   การสอบแบบเป็นทางการ มีป้ายติดทั่วประตูว่า “Do not Disturb” ประตูห้องจะเปิด เช่น เกรด 5 มีการสอบ ประตูที่จะเข้ามาในระดับชั้นของเกรด 5 ทั้งหมดก็จะปิดและมีโปสเตอร์ติดว่ามีการสอบในส่วนนี้
                     (5)   แบบสอบเป็นแบบสอบมาตรฐาน จึงมีคู่มือครูในการทำแบบสอบ และครูต้องทำตามโดยเคร่งครัด
                     (6)   แบบสอบสำหรับสอบในระหว่างปีหลายชนิด แต่ที่เป็นแบบสอบสำคัญมี 2 ชนิด คือ I.Q. test, TABS test (ของ Texas) และ Stanford Achievement Test
                             แบบสอบนี้ช่วยในการจัดนักเรียนเข้าโครงการพิเศษและบริการต่างๆ ช่วยให้ข้อมูล ที่มีคุณค่าแก่ครู ได้ทราบถึงความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียน ความต้องการของนักเรียนและยังช่วยในการแก้ไขปรับปรุง จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
              11.  ห้องเรียนและอุปกรณ์
           
          นอกจากห้องเรียนประจำชั้นแล้ว มีห้องสมุด ห้องดนตรี ห้องพลศึกษา ห้องอาหาร ห้องประชุม ห้องพยาบาล
อุปกรณ์ที่มีประจำห้อง คือ เครื่องฉายแผ่นใส (Overhead) และคอมพิวเตอร์บางแห่งจะมีในห้องเรียน บางแห่งจะอยู่ที่ hallway ให้ใช้ร่วมกัน
              12.  การแต่งกาย
                    ไม่มีข้อกำหนดเรื่องเครื่องแบบ และกระเป๋านักเรียน แต่งกายได้ตามสบายและกระเป๋าก็มีใช้ได้หลายรูปแบบ
                     วันศุกร์ บางโรงเรียนจะขอความร่วมมือครูและนักเรียนให้ใส่ T.Shirts ตราโรงเรียนกับกระโปรงหรือกางเกงยีน
              13.  การประชาสัมพันธ์
                     โรงเรียนจะมี intercom ประกาศไปตามห้องสำหรับครูและนักเรียน และประกาศข่าว มี newsletter ของทางโรงเรียนส่งถึงผู้ปกครอง
              14.  สมาคมผู้ปกครองและครู (PTA)
                     จุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียน ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมของโรงเรียน และทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์โรงเรียน
                     ผู้ปกครองอาสาสมัคร ช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน และเข้ามาช่วยงานของ PTA เงินต่างๆ ที่ได้มาก็ใช้ในการซื้อวัสดุอุปกรณ์ให้กับโรงเรียน
                     สมาคมจะเข้มแข็งหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและเศรษฐกิจของผู้ปกครอง

กิจกรรมการเรียนการสอน
รายละเอียดจากการฝึกปฏิบัติงานที่ Sam Houston Elementary School

              การเรียนการสอน ครูคนเดียวรับผิดชอบสอนวิชาต่างๆ ทั้งหมดในฐานะครูประจำชั้น ยกเว้นวิชาดนตรีและพลศึกษาจะมีครูสอนพิเศษ
              โรงเรียนจะรับนิสิตฝึกสอนเข้ามาฝึกสอน 9 สัปดาห์ สลับครูประจำชั้นในการสอนวิชาต่างๆ ทุกวิชาในห้องเรียนแบบ self-contained classroom และมี 1 สัปดาห์ ที่นิสิตฝึกสอนจะต้องสอนเองทั้งหมด
              1.   ห้องสมุด
                    
ครูประจำชั้นพานักเรียนไปห้องสมุด ส่งคืนหนังสือที่ยืมไปเมื่อครั้งที่แล้วและยืมหนังสือใหม่และดูวีดิทัศน์
              2.   คณิตศาสตร์
              
      (1)   มีแบบฝึกหัดให้นักเรียนทำ และตรวจคำตอบด้วยการเขียนลงแผ่นใส
                    (2)   เล่นเกมทางคณิตศาสตร์ เช่น Mental tic tac toe ครูจะนำเสนอการเล่นให้กับชั้นเรียนแล้วให้หาเพื่อนเล่น
              3.   หนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
                    (1)   สอน Reading comprehension, spelling, หา main ideas อภิปรายเกี่ยวกับข่าว คำศัพท์ ข้อความและคำย่อต่างๆ
                    (2)   ใช้ข่าวแทรกไปกับข่าววิชาสังคมศึกษา คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
                    (3)   มีเรื่องเกี่ยวกับสังคมในเรื่องใดที่ควรจะเข้าไปให้ความร่วมมือ ก็จะให้นักเรียน เข้าไปมีส่วนร่วม เช่น เรื่องเกี่ยวกับ World Hunger ครูก็จะเตือนนักเรียนเกี่ยวกับผู้ที่ไม่มีอะไรจะกิน และอาหารที่นักเรียนโยนทิ้งไป แล้วให้นักเรียนเก็บออมเงินช่วย World Hunger Organization
                    (4)   หนังสือพิมพ์ส่วนที่เป็นโฆษณาสีๆ ให้นำมาทำงานศิลปะ ทำ cards
              4.   Reading
                    
(1)   Silent Reading ทุกเช้าหลังจาก pledge the flag แล้วจะให้นักเรียนอ่านในใจ จากหนังสือที่ยืมมาจากห้องสมุด
                    (2)   อ่านหนังสือในห้องสมุด
                    (3)   รายงานเกี่ยวกับหนังสือที่อ่าน ตามรูปแบบ (style) ของตนเอง เช่น
                            3.1   บอกสิ่งที่ชอบจากหนังสือ
                            3.2   มีภาพและการแสดงประกอบจากหนังสือ
                            3.3   สรุปผลจากชั้นเรียน
              5.   พลศึกษา กิจกรรมที่พบ
                    (1)   นักเรียนเข้าแถวเดินไปห้องพลศึกษา
                    (2)   ครูแบ่งนักเรียนเป็น 5 แถว แล้วให้หันหน้าไปที่แผนภูมิ “Let’s Get Physical” ซึ่งเป็นแผนภูมิกำหนดกิจกรรมที่นักเรียนจะต้องทำตาม เช่น half knee bends, side bends, jumping jacks, scissor steps
                    (3)   ครูเปิดเพลง และให้นักเรียนทำกิจกรรมที่กำหนดให้สัมพันธ์กับเพลง
                    (4)   เด็กออกไปที่สนาม อบอุ่นร่างกาย และเข้าแถว
                    (5)   ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม และบอกถึงการให้คะแนน Volleyball
                    (6)   เด็กฝึกการใช้ลูกบอล ถอยหลังและนับคะแนน
                    (7)   ครูสรุปถึงความสำคัญของการเสิร์ฟลูกบอล และการหมุนตัวในการรับลูกบอล
                    (8)   ครูแจกแบบสอบถามเกี่ยวกับ Volleyball
              6.   ดนตรี เรียนในห้องดนตรี กิจกรรม เช่น
                    (1)   ดูภาพยนตร์เกี่ยวกับ Johnny บุรุษของสันติภาพ ซึ่งได้รับความไว้วางใจทั้งจากผิวขาวและอินเดียน
                    (2)   ครูนำอภิปรายไปสู่ filmstrip ที่ครูฉายให้นักเรียนดูครั้งที่แล้ว
                    (3)   ครูนำอภิปรายเกี่ยวกับนักร้อง ชื่อ Tom Parker ซึ่งเป็น British Rock Star และให้นักเรียนฟังเพลง
                    (4)   ครูเล่นเปียโน นักเรียนร้องเพลง
              7.   วิทยาศาสตร์ มีการเชิญวิทยากรเข้ามาบรรยายในห้องเรียน นอกเหนือจากครูสอนตามปกติ กิจกรรมที่พบ เช่น
                    (1)   Science : Inclined Planes Experiment (Mizar)
                           1.1 ครูสาธิตการทดลองอุปกรณ์ที่ใช้ คือ a board และ Dial Spring และอธิบายว่าจะทำงานได้อย่างไร เขียนลงไปบนกระดานแบบย่อๆ : Conditions, Amout of weighted needed และ Materials.
                           1.2 ครูแจกอุปกรณ์ 1 ชุด สำหรับนักเรียน 5 – 6 คน
                           1.3 เด็กทำการทดลองฝึกทีละคน และบันทึกผลบนกระดาน
                    (2)   วิทยากรบรรยายเรื่อง Force and Energy โดย Dr. Ray Chancellor ทำหน้าที่ assistant superintendent for instruction
                    (3)   วิทยากรบรรยายเรื่อง Rocks โดย Mr. Dallas Lee
              8.   ศิลปะ
              
      (1)   ทำ card valentine จากโฆษณาหนังสือพิมพ์
                    (2)   ทำ poster valentine ติดหน้าห้อง มีการวิจารณ์ผลงานเมื่องานเสร็จ
                    (3)   ปั้นดิน ครูแจกวัสดุอุปกรณ์ให้แก่นักเรียน เด็กนวดดินประมาณ 30 นาที ในระหว่างนี้เพื่อควบคุมความสนใจของนักเรียน ครูจะอ่านออกเสียงจากหนังสือ นวดดินเสร็จ นักเรียนก็จะเริ่มวางแผนการปั้น
                            ขณะที่นักเรียนเกรด 5 ทำงานศิลปะ มีนักเรียนเกรด 1 เดินพาเหรดเข้ามาในห้อง เป็นพาเหรดเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง โดยมีเด็กถือ poster เข้ามา 2 คน เขียนว่า “The Great Pet  Parade – First Grade” ตามด้วยเด็กถือตุ๊กตาสัตว์เลี้ยงหรือภาพจากสัตว์เลี้ยงเดินไปรอบๆ ห้อง แล้วก็เดินพาเหรดไปห้องอื่น
              9.   Spelling มีกิจกรรมสะกดคำปากเปล่า ทดสอบเขียนคำยากทีละ 25 คำ ทำเกมเกี่ยวกับการสะกดคำ “Word Chain Game” มีการแข่งขัน “Spelling Bee”
              10. Computer ใช้ drill and practice มีเครื่องที่ Hallway ในห้องเรียน ใช้เสริมวิชาต่างๆ ที่เรียนโดยทำแบบฝึกหัดในคอมพิวเตอร์
              11.  สังคมศึกษา ทำแผนที่เกี่ยวกับประเทศที่เรียน อ่านจากหนังสือและทำแบบฝึกหัด

รายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมของโรงเรียน
              
1.   Mizar เป็นโปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กที่มีพรสวรรค์ (gifted education program) แต่โปรแกรมนี้ใช้เพื่อประโยชน์สำหรับเด็กนักเรียนในระดับประถมศึกษา เกรด 1 – 6 ไม่ว่าจะเป็น เด็กที่มีพรสวรรค์หรือไม่ เนื่องจากเป็นการนำไปใช้ในห้องเรียนปกติ โดยมุ่งหวังให้มีคุณประโยชน์ใน 2 ระดับ คือ
                    (1)   เพื่อสนองความต้องการของเด็กที่มีพรสวรรค์ ภายในห้องเรียนปกติ
                    (2)   เพื่อช่วยยกระดับหลักสูตรของท้องถิ่น
              การพิจารณาว่าเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์ ใช้ดูจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนจากแบบวัด I.Q. และการสังเกตของครูประจำชั้น และครูผู้สอนในรายวิชาต่างๆ เมื่อกำหนดเด็กได้แล้วก็จะให้เด็กเข้าไปเรียนในห้องเรียนกับ Mizar teacher ซึ่งจะวางแผนการเรียนการสอนเพื่อเด็กจะมี project ที่เรียกว่า Mizar Menu เด็กทุกคนได้ทำแต่เด็กจะทำได้ดีไม่เท่ากัน การจะทำได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับระดับความสามารถของเด็ก
              Mizar จุดเน้นที่สำคัญ คือ enriching the regular curriculum สำหรับนักเรียนทุกคน
              รายละเอียดการพิจารณาเด็กและการทำโครงการ
                    (1)   พิจารณาเด็ก gifted โดยดูผลสัมฤทธิ์อยู่ระดับที่ 75th percentile
                    (2)   I.Q. 130 จาก California Mental Maturity Group Test
                    (3)   คำรับรองของครู
                    (4)   สรุปตัดสินใจสุดท้ายโดย Mizar coordinator
                    (5)   Mizar program โครงการต่างๆ กิจกรรมที่จะทำจะมีดาว  หรือ  เพื่อให้ทราบว่าสิ่งที่ทำอยู่ในโปรแกรมนี้

              2. Spelling Bee
              การแข่งขันสะกดคำ เป็นเหตุการณ์ทางการศึกษา ที่ได้รับการสนับสนุนจาก The Scripps-Howard Newspaper และหนังสือพิมพ์ชั้นนำอื่นๆ เพื่อช่วยให้เด็กได้พัฒนาตนเอง ในเรื่องเกี่ยวกับการสะกดคำ เพิ่มจำนวนคำศัพท์ และช่วยแก้ไขในการใช้ภาษาอังกฤษที่ผิดๆ
              ขั้นตอนในการเข้าร่วมการแข่งขัน National Spelling Bee at Washington D.C.
                    (1)   นักเรียนเกรด 5 และ 6 ที่เข้าร่วมในโปรแกรมนี้ แต่ละชั้นจะจัดการแข่งขันเพื่อหาผู้ชนะในการแข่งขัน Spelling Bee ในห้อง
                    (2)   ผู้ชนะของแต่ละห้องแข่งกันเองในโรงเรียน เลือกนักเรียน 2 คนเป็นตัวแทนไปแข่งในระดับ county
                    (3)   ผู้ชนะ 2 คน จากการแข่งขันของแต่ละ county แข่งระดับของรัฐ
                    (4)   ผู้ชนะของแต่ละรัฐ เข้าแข่งขันระดับชาติ
              การเตรียมเด็กสำหรับการแข่งขันนี้ มีหนังสือชื่อ “Scripps-Howard National Spelling Bee” เป็นหนังสือฝึกสะกดคำ ที่จะช่วยนักเรียนให้ศึกษาเพื่อการแข่งขัน และมีคำยากๆ อีกมากมาย ที่ใช้ในการสะกดคำ จากการแข่งขันที่ผ่านๆ มา
              เมื่อชนะการแข่งขันจะได้รับโล่ ถ้วย พจนานุกรม และรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย ได้เที่ยวใน Washington D.C. 1 สัปดาห์ สำหรับผู้ชนะระดับท้องถิ่น และมีเงินให้มากกว่า $ 8000 เป็นเงินสด
              3.   World Chain Game
              เป็นเกมที่ช่วยให้นักเรียนสนใจในการสะกดคำ เป็นเกมจาก Spelling Magic Book
              การเตรียม
                    (1) ตัดกระดาษขนาด 1” x 3” จำนวน 50 แผ่น จากกระดาษสีต่างๆ กัน
                    (2) จัดเตรียมกาวและดินสอ
                    (3) เตรียมคำที่จะให้สะกด 50 คำ คำอาจจะมาจากหนังสือฝึกสะกดคำ กลุ่มคำ (unit words) หรือคำต่างๆ
              คำแนะนำสำหรับผู้เล่น (Player directions)
                    (1) เกมสำหรับทั้งชั้น
                    (2) แบ่งนักเรียนในชั้นเป็น 2 กลุ่ม
                    (3) วางแบบกระดาษ กาว และดินสอลงบนโต๊ะ
                    (4) ครูออกเสียงคำ
                    (5) สมาชิก 1 คน ของกลุ่มเดินมาที่โต๊ะ เขียนคำบนกระดานและยื่นให้ครูตรวจสอบการสะกดคำ ถ้าถูกต้อง ผู้เล่นก็ติดคำลงไปในช่องหนึ่งของโซ่
                    (6) เล่นเกมต่อไปจนหมดคำ แต่ละครั้งคนที่สะกดถูกจะติดคำลงไปที่โซ่
                    (7) กลุ่มไหนโซ่ยาวก็ชนะไป
              4. Texas Wild Flowers
              มีการประกวดผลงานของเด็กสำหรับ Fine Arts Festival 1983 ที่ TW.U. ระหว่าง 10 – 12 เมษายน ค.ศ. 1983 จัดโดย The Greater Denton Arts Council and Texas Woman’s University แต่ละชั้นจะให้นักเรียนวาดภาพดอกไม้ป่าของ Texas แล้วคัดเลือกมาติดที่ Hallway จะมีคณะกรรมการมาเลือกผลงานจากแต่ละห้องไป แล้วไปติดประกวดกันอีกในระหว่างแต่ละระดับ และแต่ละโรงเรียนในเมือง
              5.   Logical Thinking Skills “Bridge Engineer”
              
Idea : Strength
              อุปกรณ์          ครูแจกอุปกรณ์ 3 ชนิด ให้แก่นักเรียน นักเรียน 2 คน จะได้อุปกรณ์ 1 ชุด คือ หลอดดูดขนาดใหญ่ 10 อัน เข็มหมุดตามความต้องการของนักเรียน และแผ่นโลหะมีรูตรงกลางเหมือนเหรียญเงิน (washer) สำหรับเป็นตัวน้ำหนัก
              กิจกรรม          (1) ครูให้เด็กออกแบบสะพาน โดยมีข้อกำหนดว่า สะพานจะมีขนาด 12 นิ้ว และมีหนังสือ 2 เล่ม เป็นตัวรองน้ำหนัก หลังจากสร้างเสร็จแล้วให้นำ washer วางลงไป เพื่อตรวจสอบความแข็งแรงของสะพาน นำ washer วางไว้ตรงกลางของสะพาน  3 แถว ให้มากที่สุด ถ้าสะพานแตะโต๊ะถือว่าเป็นการรับน้ำหนักมากที่สุดแล้ว
                                      (2) นับ washer และครูเขียนน้ำหนักลงบนกระดาน
                                      (3) สรุปได้ว่า pins เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่สะพาน แล้วก็โยงไปถึงการใช้เหล็กเพื่อเสริมทำให้สะพานแข็งแรง
              6.   Spontaneous Problem
              
ครูให้คำถาม แล้วนักเรียนต้องใช้ 3 ขั้นตอนในการแก้ปัญหา
                    (1)   ครูสั่นกระดิ่ง      นักเรียนแต่ละคนคิด
                    (2)   ครูสั่นกระดิ่ง      นักเรียนแต่ละกลุ่มคุยกัน เพื่อหาข้อสรุปแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
                    (3)   ครูสั่นกระดิ่ง      ตัวแทนของแต่ละกลุ่มมาเสนอวิธีการแก้ปัญหา
              7.   Book Fair at Cafeteria
              สมาคมผู้ปกครองและครู (PTA) รับผิดชอบในการจัด โดยผู้ปกครองอาสาสลับกันมาดูแลงานในระหว่าง 4 – 8 เมษายน ค.ศ. 1983
              ก่อนมีการจัดงานหนังสือ ครูประจำชั้นแจกรายการหนังสือให้แก่นักเรียน นักเรียนนำรายการหนังสือไปปรึกษาผู้ปกครอง ว่าหนังสืออะไรที่ต้องการจะซื้อ
              เมื่อถึงเวลาที่กำหนด นักเรียนกับครูประจำชั้นก็จะไปซื้อหนังสือที่จัดเอาไว้
              ช่วงเวลานี้ที่สังเกตพบ เด็กจะซื้อแฟ้มสีสวยงาม “Garfield”

(บทความที่ 1 ชุดที่ 3)